ข้อความต้นฉบับในหน้า
ใครก็ตามที่มีอคติแม้เพียงข้อเดียว หรือครบทั้ง 4 ข้อ ก็เพราะสัมมาทิฏฐิยังไม่เข้าไปอยู่ในใจ
เขาอย่างมั่นคงเหนียวแน่นมิจฉาทิฏฐิจึงมีอิทธิพลครอบงำจิตใจของเขาอยู่โดยตลอดจึงทำให้เขามองไม่ออกว่า
ความทุกข์และความเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งเกิดจากความลำเอียงของเขานั้น นอกจากจะเป็นบาปติดตาม
เขาไปทั้งโลกนี้และโลกหน้าแล้ว เขายังชื่อว่าเป็นผู้ทำลายกฎกติกา ตลอดจนความสมานสามัคคี และ
ความสงบสุขของผู้คนในสังคมอีกด้วย เพราะเหตุนี้บุคคลที่มีอคติจึงชื่อว่า เป็นผู้ขาดความสำนึกรับผิด
ชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม
ในทางตรงข้าม ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงจนเป็นนิสัยประจำใจ ย่อมมองเห็น
โทษภัย และตระหนักถึงอันตรายร้ายแรงของความลำเอียงอยู่เสมอ จึงระมัดระวังตนมิให้กระทำสิ่งหนึ่ง
ประการใดโดยไร้ความเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความ
สำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคมเสมอด้วยการเว้นขาดจากอคติ
นี่คือความรับผิดชอบประการที่ 2 และเป็นคุณสมบัติประการที่ 2 ของคนดีที่โลกต้องการ
ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมเป็นคนอคติจะเกิดผลอย่างไรบ้าง
ในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่ยุติธรรมของคนอคติ ก็คือความทุกข์ และความ
เดือดร้อนอย่างแน่นอน สำหรับคนอคตินั้น ย่อมได้รับการติฉินนินทา และความรังเกียจเดียดฉันท์จากผู้คน
ที่รักความเป็นธรรมโดยทั่วไป ในบางกรณีก็อาจถูกอาฆาตพยาบาทจากผู้ที่เสียประโยชน์จากความ
อยุติธรรมของผู้ที่มีอคติเป็นการผูกเวรกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมอคติก็คือกรรมชั่วอย่างหนึ่ง ผู้ที่ก่อกรรมชั่วย่อมประสบวิบากแห่ง
กรรมชั่วของตนอย่างแน่นอน แม้เขาจะไม่ได้ประสบวิบากกรรมในโลกนี้ ก็จะต้องประสบวิบากกรรมใน
โลกหน้า ดังมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งจะขอยกมาเป็นกรณีศึกษาดังต่อไปนี้
เรื่องที่ 1 วิบากกรรมของผู้พิพากษาซึ่งตัดสินคดีไม่เป็นธรรม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ 1 พระลักขณะกับ
พระมหาโมคคัลลานะ พักอยู่บนเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้าตรู่ทั้ง 2 องค์ ก็เข้าไปบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์
วันหนึ่ง เมื่อทั้ง 2 องค์กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงพากันไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระลักขณะได้ถามถึงสิ่งที่พระมหา
โมคคัลลานะได้เห็นขณะลงจากเขาคิชฌกูฏ ต่อหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า พระมหาโมคคัลลานะ จึง
ตอบว่า
“ท่านผู้มีอายุ ขณะที่ลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏนั้น ได้เห็นกุมภัณฑเปรต (เปรตอัณฑะโตเท่าหม้อ)
1 กุมภัณฑสูตร สัง, นิ. มจร. 16/211/307
72 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก