ข้อความต้นฉบับในหน้า
อบายมุขทั้งปวง บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น เช่น คน
เกียจคร้านในการทำมาหากิน โดยสรุปก็คือ ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกประเภท ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ
ผู้ใช้บริการ ผู้ขายบริการ ผู้ประกอบการล้วนมีเจตนาทำกรรมชั่วทั้งสิ้น นี่คือความหมายที่ว่า อบายมุขเป็น
เกณฑ์ตัดสิน “กรรมชั่ว”
อนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงธรรม ซึ่งบุคคลสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
กรรมดี และกรรมชั่วได้ด้วยตนเอง โดยการพิจารณาที่ต้นเหตุ หรือผลสุดท้ายของการกระทำนั้นๆ
เกณฑ์สำหรับตัดสินกรรมดีด้วยตนเอง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำนั้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
“กรรมที่บุคคลทำด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศล
กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข” 1
2) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำนั้น ดังที่พระ พุทธองค์ตรัสว่า
“บุคคลทำกรรมอันใดแล้ว ไม่เดือดร้อน ในภายหลัง มีจิตแช่มชื่น
เบิกบาน ได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้น เป็นกรรมดี” 2
เกณฑ์สำหรับตัดสินกรรมชั่วด้วยตนเอง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า
“กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรม
นั้นมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์”
3
2) พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง และมีหน้านอง
ด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมไม่ดี” 4
สาระสำคัญของกฎแห่งกรรม คืออะไร
สาระสำคัญของกฎแห่งกรรม คือ “ทำดีต้องได้รับผลดีจริง ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วจริง” 5
ดังธรรมภาษิต ว่า
- ปฐมนิทานสูตร อัง, ติก, มก. 34/551/520
เขมสูตร สัง. ส. มจร. 15/103/111
3
ปฐมนิทานสูตร อัง, ติก, มก. 34/551/520
4
เขมสุตร สัง. ส. มจร. 15/103/111
5
จุลลนันทิยชาดก ขุ. ชา.ทุก.มก. 57/294/389
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป ม นุ ษ ย์
DOU 23