ข้อความต้นฉบับในหน้า
เกณฑ์ในการตัดสินว่ากรรมใดเป็นกรรมชั่ว มีชื่อทางธรรมว่า “อกุศลกรรมบถ 10” ประกอบ
ด้วยเกณฑ์ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจาและทางใจ ดังนี้
1) กรรมชั่วทางกาย ได้แก่การประพฤติผิดศีล 3 ข้อ แรก คือ
1.1) เจตนาทำการปลดปลงชีวิตคน และสัตว์ (ปาณาติบาต) รวมทั้งการทำร้ายร่างกาย การ
ทรมานคน และสัตว์ด้วยวิธีการต่างๆ
1.2) เจตนาถือเอาของที่เขามิได้ให้มาเป็นของตน (อทินนาทาน) เช่น ลักทรัพย์ ละเมิดกรรมสิทธิ์
เป็นต้น
1.3) เจตนาประพฤติผิดทางเพศ (กาเมสุมิจฉาจาร)
2) กรรมชั่วทางวาจา ได้แก่การประพฤติผิดศีลข้อ 4 ซึ่งแยกออกเป็น 4 ประการ คือ
2.1) เจตนาพูดเท็จ (มุสาวาท)
2.2) เจตนาพูดส่อเสียด เพื่อทำให้คนแตกแยกกัน (ปิสุณาวาจา)
2.3) เจตนาพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
2.4) เจตนานินทา (สัมผัปปลาปะ)
3) กรรมชั่วทางใจ ได้แก่ความคิดทุจริต อันเป็นเหตุให้เกิดการกระทำทุจริต หรือทำชั่ว เป็น
ลำาดับต่อไป แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
3.1) เพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น (อภิชฌา) คือมักได้ คิดโลภ เริ่มด้วยการคิดแย่งชิงผล
ประโยชน์จากผู้อื่นอย่าง ไร้ความเป็นธรรม
3.2) มีจิตคิดพยาบาทจองเวรผู้อื่น (พยาบาท) เช่นคิดอาฆาตพยาบาทปองร้ายจองเวรผู้ที่ขัดใจ
หรือขัดผลประโยชน์ โดยไม่ยอมให้อภัย
3.3) มีความเข้าใจผิดอย่างเหนียวแน่น ไม่เปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไป
ของชีวิตตามที่ไม่เป็นจริง (มิจฉาทิฏฐิ) จนเกิดเป็นนิสัย และสันดานเลวทราม
อกุศลกรรมบถ 10 นี้ ถือได้ว่าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน “กรรมชั่ว” ที่มีรายละเอียดอย่างชัดเจน
นอกจากอกุศลกรรมบถ 10 แล้ว มีเกณฑ์อย่างอื่น สำหรับใช้ตัดสินกรรมชั่วอีกหรือไม่
อบายมุข 6 ประการดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็สามารถใช้เป็นเกณฑ์ตัดสิน “กรรมชั่ว” ได้ หมายความ
ว่าผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุขบางอย่างหรือบางคนก็เป็นการหาความสุขบนความฉิบหายของผู้อื่น
เช่น การซื้อบริการทางเพศ บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายให้แก่ตนเอง เช่น การดื่ม
สุรายาเมาเป็นต้น บางอย่างหรือบางคนก็เป็นการสร้างความฉิบหายให้แก่ผู้อื่น เช่นผู้ประกอบการสถาน
22 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก