ความสำคัญของการสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 100
หน้าที่ 100 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เช่น บ้านและที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมไกลตัว เช่น ป่าเขา ลักษณะพฤติกรรมของผู้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลเสียที่เกิดจากการขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น การทำลายป่าและก่อให้เกิดมลพิษ โดยเน้นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว
-ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมไกลตัว
-พฤติกรรมที่แสดงถึงการสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-ผลเสียจากการขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-ผลกระทบจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ได้แก่ที่อยู่อาศัย พื้นดิน อากาศ ถนน หนทาง คูคลอง แม่น้ำ ต้นไม้ใหญ่ น้อยในบริเวณบ้าน และบริเวณใกล้บ้าน ตลอดจนสัตว์ดิรัจฉานต่างๆ ในบริเวณบ้าน เช่น แมลง สัตว์ที่ เป็นพาหะนำเชื้อโรคและนกต่างๆ เป็นต้น สิ่งแวดล้อมไกลตัว ได้แก่ ทะเล มหาสมุทร ป่าเขาลำเนาไพร ภูมิอากาศ และสัตว์ป่านานาพันธุ์ บุคคลที่ชื่อว่ามีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติควรมีพฤติกรรมอย่างไร ผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงย่อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ย่อมตระหนักดีว่า สิ่งแวดล้อมทั้งใกล้ตัวและไกลตัว แม้บางอย่างจะมีอันตราย แต่ส่วนมากก็ล้วนเป็น ปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสัตว์ รวมถึงพืชพันธุ์ไม้อีกด้วย พวกเขาจึงพยายามร่วมมือ กันปกป้อง บำรุงรักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่การไม่ปล่อยให้ บริเวณบ้านสกปรก เลอะเทอะ มีน้ำครำเน่าเหม็น เป็นแหล่งกำเนิดของยุงและเชื้อโรคต่างๆ ไม่สร้าง มลพิษในน้ำและในอากาศ ด้วยการไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำ ไม่ปล่อยให้ยวดยานของตนปล่อยแก๊สพิษ ออกมาในบรรยากาศ เป็นต้น เหล่านี้คือตัวอย่างของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สำหรับสิ่งแวดล้อมไกลตัว สัมมาทิฏฐิชนก็จะไม่ตัดไม้ ทำลายป่า ทั้งนี้ก็เพื่อการอนุรักษ์ต้นน้ำ ลำธาร และเพื่อป้องกันพื้นผิวดินพังทลาย ตลอดจนการป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่ทรัพยากรตามธรรมชาติถูกทำลายอย่างมากมายทุกวันนี้ ก็ล้วนเป็นการ กระทำของมิจฉาทิฏฐิชน ซึ่งมีความเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด มีอาชีพผิดทั้งสิ้น ถ้าคนเราขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะเกิดผลเสียอย่างไร แท้ที่จริงสาเหตุที่ทำให้คนเราขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ กิเลส 3 ตระกูล ซึ่งนอนเนื่องฝังแน่นอยู่ในใจนั่นเอง บุคคลใดใส่แว่นตาเปื้อนสีเปื้อนโคลน ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ บิดเบือนเพี้ยน สีเพี้ยนรูปไปตามแว่นที่ใส่ฉันใด บุคคลที่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ ความโกรธ และความหลงใจของเขา ย่อม ขุ่นมัว ความคิด ความเห็นย่อมบิดเบือนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามความเป็นจริงฉันนั้น ย่อมก่อให้ เกิดปัญหาได้ หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็ล้วนเป็นผลเสียทั้งสิ้น เช่น บางคนที่ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ และความหลง ก็แสวงหาความร่ำรวยด้วยการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศน์วิทยาเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ คนเราตลอดจนพืชและสัตว์ต่อไปอีกอย่างยากที่จะหาทางแก้ไข นี่คือ ผลเสียอันเกิดจากการขาดความ สำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ บางคนตกอยู่ใต้อำนาจความโกรธและความหลง แล้วพาลหาเรื่องกับผู้บริสุทธิ์ที่เป็นทิศ 6 ของตน ถึงขั้นปลดปลงชีวิตกันด้วยเจตนาที่จะสร้างความทุกข์ และความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นที่อยู่แวดล้อม แต่ในที่สุดตนเองก็ต้องตกอยู่ในความทุกข์ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเอง นี่คือผลเสียอันเกิดจากการขาด ความสํานึกรับผิดชอบต่อทิศ 6 ของตน บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 85
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More