การปฏิรูปมนุษย์และสัมมาทิฏฐิ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 74
หน้าที่ 74 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิพลของมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิในการสร้างนิสัยที่ดีในใจ ซึ่งส่งผลต่อความสงบสุขและการศึกษา พระธรรมวินัยส่งเสริมการปฏิบัติด้านนี้ โดยยกความสำคัญของการปฏิรูปความเข้าใจในจิตใจเพื่อประโยชน์ทั้งส่วนตัวและสังคม ให้นักศึกษาได้ทำการประเมินตนเองหลังจากเรียนจบบทที่ 1 เพื่อมุ่งสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ต่อไป

หัวข้อประเด็น

-การปฏิรูปมนุษย์
-สัมมาทิฏฐิ
-มิจฉาทิฏฐิ
-พระธรรมวินัย
-ความรับผิดชอบในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อายบาปและกลัววิบากของบาปหรือกรรมชั่วยิ่งนัก เมื่อสร้างนิสัยเช่นนี้ขึ้นประจำตัวประจำใจได้แล้ว ใจ ของเขาก็จะผ่องใส มีความสบายใจ ไร้ความอนาทรร้อนใจ มองเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของพระธรรมวินัย จึง ขวนขวายศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นอีก ด้วยศรัทธามั่นว่า “ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย เป็นทางแห่งพระนิพพาน ความประมาทเป็น ทางแห่งความตาย (เป็นทางอบาย ไม่มีทางพ้นจากสังสารวัฏฯ)” 1 ทั้งหมดนี้คือประโยชน์สำคัญยิ่งของการศึกษาเรื่องมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ นอกจากจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ศึกษาโดยตรงแล้ว ยังจะก่อให้ผลประโยชน์เป็นความวัฒนาถาวรของสังคมโดยรวมอีกด้วย เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่รู้ว่าตนยังมีมิจฉาทิฏฐิบางประการอยู่ในจิตใจ ก็พึงปฏิรูปให้เป็น สัมมาทิฏฐิเสียให้สมบูรณ์ ใครก็ตามที่มีสัมมาทิฏฐิมั่นคงอยู่ในจิตใจแล้ว ก็พึงทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ แก่ญาติมิตรเพื่อนฝูง ที่มีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้เกิดความเข้าใจถูก สลัดความเข้าใจผิดหรือความ เห็นผิดๆ ออกจากใจเสียแล้วพัฒนาสัมมาทิฏฐิขึ้นมาแทน ให้เป็นนิสัยประจำใจ สัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นเป็น นิสัยตนเอง จะเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสำนึกรับผิดชอบในทุกๆ ด้านของคนเรา กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 1 แนวคิดในการปฏิรูปมนุษย์ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 1 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 1 แล้วจึงศึกษาบทที่ 2 ต่อไป - อรรถกถาเอกปุตตสูตร ขุ. อุ. มก. 44 หน้า 202 บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป ม นุ ษ ย์ DOU 59
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More