ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชน GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 244
หน้าที่ 244 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างวัดและบ้านในสังคมไทย โดยเน้นที่การบิณฑบาตและการใส่บาตรที่นำไปสู่การพัฒนาความเข้าใจทางธรรม การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรในระดับชุมชนและระดับชาติสำหรับการปฏิรูปการศึกษาทางธรรมถูกประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน โดยมีบุคคลสำคัญในหมู่บ้านที่สามารถนำมาซึ่งการส่งเสริมและจุดประกายให้เกิดการศึกษาอย่างมีคุณภาพในด้านนี้

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้าน
-การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร
-ความสำคัญของการศึกษาทางธรรม
-บทบาทของสถาบันสงฆ์
-นโยบายระดับชาติในการพัฒนาชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผู้ใหญ่ก็ไม่น้อย ล้วนเติบโต มาจากข้าวก้นบาตรพระ และโรงเรียนวัดมีอยู่มากมาย สถาบันวัดที่ยังคงความสัมพันธ์กับสถาบันครอบครัวอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งคราว ก็เฉพาะใน โอกาสที่ญาติโยมมาใช้บริการฌาปนสถาน เมื่อการฌาปนกิจเสร็จสิ้นแล้วความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถาบัน ก็เป็นอันจบสิ้นลง นี่คือลักษณะการเข้าวัดของญาติโยมส่วนมากในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้านอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การออกบิณฑบาตของพระภิกษุ และ การใส่บาตรของญาติโยม ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้าน ทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าวนี้ ญาติโยมย่อมไม่ได้รับรสพระธรรม ลึกซึ้งถึงขั้นที่จะปฏิรูปความเห็นผิดได้ อย่างไรก็ตามบุคคลที่ชอบใส่บาตร หรือใส่บาตรเป็นประจำ อาจจะ เป็นได้ทั้งบุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงแล้ว หรืออาจจะเป็นบุคคลที่มีทั้งสัมมาทิฏฐิและ มิจฉาทิฏฐิผสมคละเคล้ากันอยู่ก็ได้ เข้าทำนองที่เรียกกันว่า “วัดก็เข้า เหล้าก็กิน” นั้นมีอยู่ ด้วยเหตุที่สภาพสังคมปัจจุบันยังมีมิจฉาทิฏฐิชนอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะสร้างเครือ ข่ายกัลยาณมิตรให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ในชุมชนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เว้นเสียแต่ว่าจะมีบุคคล ซึ่งเป็นที่รักใคร่ เคารพนับถือของผู้คนในหมู่บ้าน และชุมชน ออกมาจุดประกายชักชวนชี้นำ ขณะเดียวกันบุคคลนั้นก็ต้องมี ความพร้อมที่จะเสียสละในด้านต่างๆ เช่น เวลา และทรัพย์สินเงินทอง เป็นต้น จึงมีคำถามตามมาว่าใคร จะเป็นผู้จุดประกายให้เกิดเครือข่ายกัลยาณมิตร 3 สถาบัน ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ 6.4.5 การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรต้องเป็นนโยบายระดับชาติ ทำไมการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรต้องเป็นนโยบายระดับชาติ มีเหตุผลสำคัญอย่างน้อย 5 ประการ คือ 1. เพื่อใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือปฏิรูปมนุษย์สำหรับผู้คนในชาติพร้อมกันทั่วประเทศ 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาทุกระดับ ได้ตระหนักว่าความ รู้ทางธรรมมีความสำคัญเท่าๆ กันหรือสูงกว่าความรู้ทางโลก ได้ตระหนักว่าคนเก่งทางโลกที่ไร้หิริโอตตัปปะ ย่อมไม่ต่างกับมีดหรือดาบที่ไร้ฝัก ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้ทุกวินาที ได้ตระหนักว่าคนเก่งทางโลกเป็นคน ประเภทตาเดียวที่พร้อมจะสร้างความหายนะให้แก่ตนเองและสังคมโดยรวม เมื่อตระหนักดังนี้แล้ว ย่อม จะให้ความสำคัญต่อการศึกษาทางธรรมอย่างแท้จริง 3. เพื่อให้สถาบันสงฆ์ได้ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นอริยวินัยได้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงยกย่อง ไว้ในฐานะทิศเบื้องบน ขณะเดียวกัน สถาบันสงฆ์ก็จะได้ตื่นตัวพัฒนาบุคลากรใน สถาบันให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม สมควรได้รับความเคารพนบนอบบูชา ในฐานะทิศ เบื้องบน สมควรเป็นที่พึ่งที่ระลึกทางธรรมของญาติโยม บ ท ที่ 6 บ ท ส รุ ป DOU 229
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More