ข้อความต้นฉบับในหน้า
ผู้ทำกรรมกิเลส 4 ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายศักดิ์และศรี แห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองลง
อย่างน่าเสียดาย
อริยสาวก หรือ คนดีที่โลกต้องการย่อมไม่ยอมให้ตนเองตกอยู่ในอำนาจกิเลส และ
ไม่ยอมทำกรรมกิเลสโดยเด็ดขาด เพราะคำนึงถึงศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง
เพราะฉะนั้น มาตรฐานของคนดีที่โลกต้องการประการแรก คือ คนดีจะต้องมี
สำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตัวเองตามอริยวินัยด้วยการ
ไม่ทํากรรมกิเลส 4
ศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ คืออะไร
สมบัติ
ศักดิ์ แปลว่า อำนาจ กำลัง ความสามารถที่แผ่ออกไป
ศรี แปลว่า ดี เจริญ ที่มาของความดี และความเจริญ ที่มาของสมบัติ เป็นที่ตั้งของ
ดังนั้น ศักดิ์และศรี จึงหมายถึงอำนาจในการที่จะทำความดี อำนาจแห่งความเจริญ
รุ่งเรือง หรือ อำนาจที่จะครองมนุษยสมบัติของตัวเอง
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก
ว่า “การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส บัณฑิต
ทั้งหลายไม่สรรเสริญ”
7.4 เหตุ 4 ประการ
[246] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน
1. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม
2. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม
3. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม
4. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม
บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร
DOU 255