การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 213
หน้าที่ 213 / 298

สรุปเนื้อหา

การทำตนเสมอต้นเสมอปลายในขณะที่มีโชคหรือโชคไม่ดี ทำให้เข้าใจในกฎแห่งกรรมและไตรลักษณ์ ชีวิตเป็นไปตามสาเหตุที่สร้าง ผลกรรมที่เคยทำในอดีตในรูปแบบของบุญและบาป บุคคลที่เข้าใจอย่างถ่องแท้จะรู้จักวางตนอย่างสุภาพ มีสติ ควบคุมอารมณ์ และสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่ได้รับโชค พวกเขาจะไม่ก่อให้เกิดความอิจฉาริษยา และจะให้อภัยต่อผู้อื่นอย่างมีสติ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม คำสอนนี้ทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย
-กฎแห่งกรรม
-ความไม่แน่นอนในชีวิต
-การควบคุมจิตใจ
-การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) ทำตนให้สมกับที่เป็นคน 1) ทําตนเสมอต้นเสมอปลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย มีความหมายอย่างไร การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึงการปฏิบัติตนอย่างคงเส้นคงวาต่อบุคคลที่แวดล้อมเรา หรือเป็นทิศ 6 ของเรา เราเคยประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นในทางที่ดี และเหมาะสมอย่างไร ก็ยังคง ปฏิบัติอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าเราจะได้ดิบได้ดีมีโชควาสนาล้ำหน้าผู้อื่น หรือไม่มีโชควาสนา เทียมทัน ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งอับโชควาสนาถึงขั้นตกทุกข์ได้ยาก บุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างถ่องแท้ ย่อมเข้าใจดีว่าชีวิตของคนเราในโลก มนุษย์นี้เป็นเสมือนหุ่น โดยมีบุญ (ผลของกรรมดีจากอดีต) และบาป (ผลของกรรมชั่วจากอดีต) เป็นเครื่องเชิด คราใดที่บุญชิงช่วงให้ผล ชีวิตของเราก็เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ไม่ว่าจะหยิบจะทำอะไรก็โชคดี มีความ สำเร็จทุกอย่าง บางอย่างก็ประสบผลอย่างเกินควรเกินคาด ชนิดที่ไม่มีสิ่งใดมายับยั้งได้ แต่คราใดที่บาป ได้ช่องช่วงชิงให้ผล ชีวิตเราก็ประสบปัญหาร้อยแปดพันเก้า ดังที่คนโบราณมักกล่าวว่า พระศุกร์เข้าพระ เสาร์แทรกนั่นแหละ ทรัพย์สินเงินทองที่เคยมีอยู่มากมายเท่าใด ก็อาจจะอันตรธานไปในกองเพลิง ใน ตลาดหลักทรัพย์ ในมือโจร หรือในแหล่งอบายมุขต่างๆ ทำให้คนเราต้องประสบความทุกข์เวทนาอย่าง แสนสาหัส บุคคลที่เข้าใจซึ้งเรื่องกฎแห่งกรรม ย่อมเข้าใจเรื่องกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) และอนัตตา (ความไม่ใช่ตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้) ต่อไปอีกด้วย ย่อมเข้าใจดีว่าชีวิตของคนเราทุกคนตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่า ในอดีตชาติเรา ได้เคยทำบุญ หรือบาปไว้มากน้อยแค่ไหน ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า เมื่อใดบุญหรือบาปจะให้ผล เพราะฉะนั้น ขณะที่บุญมาวาสนาส่งให้เราได้ดิบได้ดี บุคคลที่เข้าใจซึ้งในกฎทั้ง 2 ดังกล่าว ย่อม มีสติสามารถอบรมควบคุมตนเองไม่ให้ลืมตน ในลักษณะที่เรียกว่า “วัวลืมตีน” แสดงท่าทางหยิ่งยะโส หรือ กล่าววาจาเหยียดหยามดูหมิ่นดูแคลนบุคคลแวดล้อม หรือใครผู้ใดก็ตามที่ต่ำต้อยกว่าตน แต่จะวางตนเป็น กัลยาณมิตร ดังเช่นที่เคยประพฤติปฏิบัติมาโดยไม่เปลี่ยนแปลง หรือถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ก็จะเป็น การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ในทางที่สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้คนที่แวดล้อมพลอยได้รับผลดีจากโชค วาสนาของตนด้วย อนึ่ง สำหรับบางคนที่เข้าใจซึ้งในกฎทั้ง 2 นั้น ถ้าชีวิตของเขายังคงดำเนินไปอย่างราบเรียบ ไม่มีบุญวาสนาส่งให้ได้ดิบ ได้ดีดังเช่นเพื่อนฝูง หรือผู้คนแวดล้อมบางคนของเขา เขาก็จะมีสติไม่ปล่อยให้ อำนาจกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในใจมาบงการให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน คิดอิจฉาริษยา เพื่อนฝูงที่โชคดีมีวาสนา ได้ลาภยศ สรรเสริญ ได้ตำแหน่งสูงกว่าตน ไม่คิดที่จะกลั่นแกล้ง เพื่อนผู้โชคดีด้วยการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อน 198 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More