ประเภทของอคติและผลกระทบในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 86
หน้าที่ 86 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้แบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบกัน ส่งผลให้เกิดการคอรัปชั่น 2) โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชังกัน ทำให้เกิดการกลั่นแกล้ง 3) โมหาคติ คือลำเอียงเพราะความเขลา ส่งผลให้กฎและกฎหมายขาดความศักดิ์สิทธิ์ 4) ภยาคติ คือลำเอียงเพราะกลัว ซึ่งทำให้เกิดผลเสียมากมายในสังคม เช่น การกระทำที่ไม่เป็นธรรม และการสร้างภัยมืดจากมิจฉาชีพ

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของอคติ
-ฉันทาคติ
-โทสาคติ
-โมหาคติ
-ภยาคติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อคติ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1 คือ 1) สําเอียงเพราะชอบกัน (ฉันทาคติ) 2) สําเอียงเพราะชังกัน (โทสาคติ) 3) ลําเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) 4) ลําเอียงเพราะกลัว (ภยาคติ) 1) ลำเอียงเพราะชอบกัน (ฉันทาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจแห่งความรักใคร่ ชอบพอเป็นพิเศษระหว่างบุคคล จึงทำให้บุคคลทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ให้ผล ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะให้ หรือให้มากกว่าที่บุคคลนั้นๆ ควรจะได้รับ เหตุที่ทำ เช่นนั้นก็เพราะบุคคลนั้นๆ เป็นคนโปรดของตน เป็นญาติของตน เป็นเพื่อนของตน เป็นหุ้นส่วนของตน ฯลฯ ความลำเอียงเพราะชอบกัน คือสาเหตุสำคัญของการคอรัปชั่นในสังคมทุกระดับ 2) ลำเอียงเพราะชังกัน (โทสาคติ) คือความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธเคือง ความ อาฆาตพยาบาทผูกเวรกัน จึงทำให้บุคคลทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เช่นทำให้ผู้ที่ควรได้รับผลประโยชน์กลับไม่ได้ รับหรือได้รับน้อยกว่าที่ควร หรือทำให้ผู้นั้นมีความผิดในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นั้น เป็นต้น ความลำเอียงเพราะชังกัน คือสาเหตุแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม 3) ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญา ทำให้ บุคคลทำสิ่งที่ไร้ความเป็นธรรม ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความใจแคบ ยิ่ง ถ้าความโง่เขลาเข้าไปผสมกับความลำเอียง อีก 3 ประเภท ก็ยิ่งทำให้ดีกรีแห่งความไม่เป็นธรรมทับทวีสูง ขึ้นอีกหลายเท่า ซึ่งจะมีผลให้ผู้ที่ควรได้รับประโยชน์กลับไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยกว่าที่ควร หรือมิฉะนั้นก็ ทำให้ผู้ที่ไม่ควรจะได้รับผลประโยชน์เลย กลับได้รับเต็มที่ หรือมิฉะนั้นก็ทำให้ผู้ที่ควรจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ กลับไม่ต้องรับ ส่วนผู้ที่ไม่ควรจะต้องได้รับโทษทัณฑ์กลับต้องรับ เป็นต้น ความลำเอียงเพราะความเขลา ย่อมทำให้กฎเกณฑ์ และกฎหมายของบ้านเมืองขาดความศักดิ์สิทธิ์ สังคมก็ระส่ำระสาย เพราะ จำนวนมิจฉาทิฏฐิชนทวีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4) ลำเอียงเพราะกลัว (ภยาคติ) คือความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยมาถึงตัว ทำให้ บุคคลทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรมเพราะความขี้ขลาดตาขาว เพื่อให้ตนปลอดภัยไว้ก่อน การกระทำของคน ลำเอียงเพราะกลัว ย่อมมีผลให้ผู้ควรได้รับประโยชน์กลับไม่ได้รับ ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์กลับได้รับ หรือผู้ ที่ควรได้รับโทษกลับไม่ได้รับ แต่ผู้ที่ไม่ควรได้รับโทษกลับได้รับ เป็นต้น ความลำเอียงเพราะกลัวเป็นปัจจัย ส่งเสริมให้เกิดภัยมืดต่างๆ จากเหล่ามิจฉาชีพ เช่น การเรียกค่าคุ้มครอง การเก็บส่วย การสร้างพยานเท็จ ฯลฯ * ปฐมอคติสูตร อัง, จตุก. มก. 35/17/48 บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 71
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More