ข้อความต้นฉบับในหน้า
ควรมีการเลือกเฟ้นหัวข้อธรรมสำหรับแสดงอย่างไร
วัตถุประสงค์ในการแสดงธรรมของพระภิกษุ ทุกครั้งจะต้องมุ่งประเด็นไปที่การปลูกฝังสัมมา
ทิฏฐิเข้าไปในใจผู้ฟัง เพราะฉะนั้นหัวข้อธรรมะแต่ละเรื่องที่จะเลือกมาแสดง จะต้องน้อมนำไปสู่การปลูก
ฝังสัมมาทิฏฐิทั้งสิ้น นอกจากนี้การให้ความรู้ทางธรรม จะต้องเรียงลำดับจากง่าย และให้ลุ่มลึกไปตามลำดับ
หลักธรรมที่ได้ยกมาแสดงไว้ในตอนต้นบทนี้ 22 หัวข้อ จะเป็นหลักธรรมแม่บทในการนำมาเทศน์สอนที่
ส่งเสริมการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิอย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม เนื้อหาสาระของธรรมะที่ควรนำมาแสดง
ควรสรุปลงในกรอบแห่ง ทาน ศีล ภาวนา
“ภาวนา” หมายถึงอะไร
“ภาวนา” โดยรูปศัพท์ แปลว่า การทำให้มีขึ้น เป็นขึ้น การเจริญ หรือการบำเพ็ญ ด้วยการ
ฝึกอบรมจิตใจ ตามหลักพระพุทธศาสนา แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1) ฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ เรียกว่า “สมถภาวนา”
2) ฝึกอบรมให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นแจ้งตามความเป็นจริง เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา”
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งการฝึกอบรมที่แตกต่างจากที่กล่าว แต่ก็แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง สงบ มีสติ และสมาธิ
เรียกว่า “จิตตภาวนา”
2) ฝึกอบรมให้เกิดปัญญาความรู้ ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนจิตใจไม่ถูก
ครอบงำด้วยอำนาจกิเลส และความทุกข์ เรียกว่า “ปัญญาภาวนา”
ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งแบบใดก็ตาม ท่านผู้อ่านคงได้เห็นแล้วว่า ภาวนานั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ
คือระดับต้น กับระดับสูง
การอบรมจิตใจที่คฤหัสถ์ทุกคนควรได้รับการฝึกก็คือการภาวนาระดับต้นเพื่อให้จิตใจมีความสงบ
มีสติ สมาธิ ความอดทน คุณธรรมเหล่านี้ย่อมอนุเคราะห์ให้เกิดความรู้ความเข้าใจหมวดธรรมแม่บทต่างๆ
ได้โดยง่าย นั่นคือ ก่อนฟังธรรมทุกครั้ง พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมควรฝึกให้ญาติโยมได้อบรมจิตใจให้มีความสงบ
มีสติ และสมาธิ เสียก่อน เพื่อจะได้รับฟังพระธรรมเทศนาอย่างมีสติ และสมาธิ ถ้าทำได้เช่นนี้ย่อมหวังได้
ว่าการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้ฟัง ย่อมมีประสิทธิผลอย่างแท้จริง
5) อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง พระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ล้วนเป็นนามธรรม
บางเรื่องอาจเข้าใจยากสำหรับบางคน ดังนั้น การอธิบายซ้ำ หรือการให้ความรู้เพิ่มเติม ในเรื่องเดียวกัน
จึงควรทำ โดยไม่ต้องเกรงว่าผู้ฟังจะเบื่อ
อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันมิให้ผู้ฟังเบื่อ ผู้แสดงธรรมก็จำต้องมีความสามารถในการยกอุปมา-
166 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก