ข้อความต้นฉบับในหน้า
กรรมชั่ว หมายถึงอะไร
“กรรมชั่ว” หมายถึง การกระทำโดยทุจริต ทางกาย วาจา ใจ ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมทำผิดศีล ผิด
ธรรม ผิดกฎหมาย มีความคิดทุจริต คิดก่อกรรมทำบาปด้วยประการทั้งปวง เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิด
ทุกข์และโทษทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น รวมถึงสังคมโดยรวม
พระพุทธศาสนามีเกณฑ์การตัดสินกรรมดี กรรมชั่วอย่างไร
เกณฑ์ตัดสินว่ากรรมใดเป็นกรรมดี มีชื่อทางธรรมว่า “กุศลกรรมบถ 10” ประกอบด้วยเกณฑ์
3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
1) กรรมดีทางกาย ได้แก่การกระทำใดๆ ก็ตามทางกายที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดศีล 3 ข้อ
แรก ซึ่งประกอบด้วย
1.1) เจตนาเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติปาตา เวรมณี) ตลอดถึงการงดเว้นจาก
การเบียดเบียนคนและสัตว์ ด้วยการทำร้ายร่างกาย การกักขัง และทรมานด้วยวิธีต่างๆ
เป็นต้น
นอกจากไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนชีวิตของผู้คน และสัตว์ต่างๆแล้ว ยังมีความเมตตา
กรุณาต่อคน และสัตว์อื่นด้วย
1.2) เจตนาเว้นขาดจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้มาเป็นของตน (อทินนาทานา เวรมณี) เช่น
ลักขโมย จี้ปล้น โจร กรรม คดโกงคอรัปชั่น ละเมิดกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
นอกจากเว้นขาดจากพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ก็จำเป็นต้องประกอบอาชีพเลี้ยง
ชีวิตอย่างสุจริตด้วย
1.3) เจตนาเว้นขาดจากการประพฤติผิดทางเพศ (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) ขณะเดียวกันก็
รู้จักควบคุมตนมิให้หมกมุ่นอยู่กับเรื่องกามารมณ์ โดยการหาโอกาสศึกษาธรรมะและ
ประพฤติพรหมจรรย์ตามความเหมาะสม
2) กรรมดีทางวาจา ได้แก่การไม่ทำผิดศีลข้อ 4 ซึ่งแยกออกเป็น 4 ประการ คือ
2.1) เจตนาเว้นขาดจากการพูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี) ขณะเดียวกันก็พูดแต่คำจริง รักษา
สัจจะ รักษาคำมั่น สัญญาเสมอ
2.2) เจตนาเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี) คือการพูดที่ทำให้คน
แตกกัน ขณะเดียวกันก็มีคำพูดที่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความรักใคร่สามัคคีกลมเกลียวกัน
2.3) เจตนาเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี) ขณะเดียวกันก็พูดแต่
ถ้อยคำสุภาพอ่อนหวาน มีปิยวาจา พูดให้กำลังใจผู้ฟังอยู่เสมอ
2.4) เจตนาเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ นินทา (สัมผัปปลาปาย วาจาย เวรมณี) ขณะ
20 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก