ข้อความต้นฉบับในหน้า
อุปไมยโวหารได้อย่างกว้างขวาง และคล่องแคล่ว ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจสาระ แห่งธรรมแจ่มแจ้ง
แล้ว ยังจะเกิดความซาบซึ้งในรสแห่งโวหารของพระธรรมกถึกอีก จึงเกิดกำลังใจใคร่ติดตามศึกษา และ
ฟังธรรมโดยมองเห็นคุณค่าอันประเสริฐของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้ฟังบางคนที่มี
ความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะเปลี่ยนแปรเป็นสัมมาทิฏฐิได้ดังกรณีพระยาปายาสิ
นอกจากนี้ การใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการแสดงธรรมที่หลากหลาย ก็จะชวนให้ผู้ฟัง
ติดตามฟังโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แม้จะเคยฟังเรื่องโดยสังเขปไปแล้ว ครั้นได้ฟังและได้ดูเรื่องโดยละเอียด
พิสดารก็จะยังมีความกระตือรือร้นติดตาม ยิ่งได้ฟังหลายครั้งก็ยิ่งจะมีความเข้าใจสาระแห่งธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ซึ่งในที่สุดก็จะพัฒนาขึ้นมาเป็นลักษณะนิสัยรักการทำความดีเกลียดการทำกรรมชั่วโดยปริยาย
6) บอกทางสวรรค์ให้ หน้าที่ในข้อนี้หมายความว่า พระภิกษุต้องบอกเหตุแห่งการไปบังเกิด
ในสวรรค์ในชาติหน้า ขณะเดียวกันย่อมมีนัยว่า ต้องบอกเหตุแห่งการไปบังเกิดในนรกแก่ญาติโยมด้วย ทั้งนี้
เพราะสถานที่ทั้งสองแห่งนี้ เป็นเรื่องที่ควรรู้พร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับกรรมดี และกรรมชั่ว
นักศึกษาคงจะสังเกตเห็นว่า ที่ผ่านมาทั้ง 5 ทิศนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบหมาย
หน้าที่ให้แต่ละทิศเพียง 5 ประการเท่านั้น แต่สำหรับทิศเบื้องบนมีถึง 6 ประการ ซึ่งต้องถือว่าเป็นหน้าที่
เกียรติยศพิเศษสุดของพระสงฆ์ คือ การบอกทางสวรรค์ให้แก่คฤหัสถ์
พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์อย่างไรในการมอบหน้าที่นี้ให้แก่พระสงฆ์
ตามหลักพระพุทธศาสนา การบวชเข้ามาเป็นพระภิกษุก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เรื่องนี้ผู้
อุปสมบททุกคน ต้องบอกวัตถุประสงค์ในการบวชของตนแก่พระอุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท ท่ามกลางภิกษุสงฆ์
อย่างชัดเจน
เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการบวชอย่างแท้จริงพระพุทธองค์จึงทรงกำหนดเป็นพระวินัย
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั้งมวลให้ต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้ครบบริบูรณ์ ทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ จนเกิดผล
เป็นปฏิเวธ คือเกิดความเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งในพระธรรมวินัยทั้งปวง เพื่อให้เป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม
อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องประกอบอาชีพใดๆ เลี้ยงชีวิต นอกเหนือจากการบิณฑบาต ทั้งนี้เพราะถ้าภิกษุ
ต้องมีภาระเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต โอกาสที่จะเป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมอย่างแท้จริงนั้นยากที่
จะเกิดขึ้นได้
ครั้นเมื่อทรงภูมิรู้ภูมิธรรมแล้ว พระภิกษุก็ต้องมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ทางธรรมให้แก่
ญาติโยมทั้งหลาย ซึ่งต้องสาละวนอยู่กับการทำมาหากิน ยากนักที่จะมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัยดังเช่น
นักบวช แต่พระพุทธองค์ก็ทรงกำหนดให้ญาติโยมทำหน้าที่อุปถัมภ์พระสงฆ์ด้วยปัจจัย 4 ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่าง
ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยวิธีนี้พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปก็จะสามารถตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิอย่างมั่นคง
* ปายาสิราชัญญสูตร ที. มหา. มก. 14/301/369
บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 167