ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.3 ลักษณะนิสัยของมิตรเทียมและมิตรแท้
4 กลุ่ม ดังนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างมิตรแท้ 4 กลุ่ม และมิตรเทียม
ความแตกต่างระหว่างลักษณะนิสัย
ของมิตรเทียมกับมิตรแท้
กลุ่มที่ ลักษณะนิสัยของมิตรเทียม ลักษณะนิสัยของมิตรแท้
1 คนปอกลอก
2
คนดีแต่พูด
3
คนหัวประจบ
4 คนชวนฉิบหาย
มิตรมีอุปการะ
มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
มิตรแนะนำประโยชน์
มิตรมีความรักใคร่
จากลักษณะนิสัยที่ตรงข้ามกันระหว่างมิตรเทียมกับมิตรแท้เหล่านี้ ย่อมมีส่วนเป็นเหตุให้มิตรแท้
หรือคนดีมองมิตรเทียมไม่ออก หรือแม้มองออกก็ยอมเสียสละ เช่น มิตรมีอุปการะ ย่อมมีนิสัยรักการให้
การแบ่งปัน การสงเคราะห์ด้วยความมีเมตตา กรุณาอย่างจริงใจ เมื่อถูกเพื่อนปอกลอก ก็คิดไปว่าเพื่อนคง
จะขาดแคลน จึงยอมอดทนเสียสละให้ กว่าจะรู้ว่าตนถูกปอกลอก ก็แทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวเสียแล้ว เป็นต้น
อนึ่ง เพราะเหตุที่มิตรเทียมมีความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเป็นศัตรูอยู่ในกมลสันดาน พร้อม
ที่จะทำร้าย และทำลายเพื่อนอยู่ทุกลมหายใจ ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามิตรเทียมแต่ละประเภทจะมี
ลักษณะนิสัยเลวทั้ง 4 ประการดังกล่าว พร้อมบริบูรณ์อยู่ในใจทุกคน พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่มิตรเทียมจะทำร้าย
เพื่อนก็คือ การชักชวนเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุข ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาเกลือกกลั้วอยู่เป็นประจำ แม้
ในเบื้องต้น ซึ่งคนดียังมีสติ มีหิริโอตตัปปะ และความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ของตนเองอยู่อย่างสมบูรณ์ ครั้นเมื่อทนรบเร้าด้วยถ้อยคำชักชวนหว่านล้อมต่างๆ นานาไม่ไหว ในที่สุดก็
จะพลาดท่าเสียทีมิตรเทียมเข้าจนได้ ไม่ต้องมาก แม้เพียงได้ดื่มเหล้าด้วยกันสักครั้งเดียว สติของคนเราก็
หย่อนสมรรถภาพ หรืออาจถึงขาดสะบั้นก็ได้ หรือชวนไปเล่นการพนัน โดยวางแผนให้เป็นผู้ชนะเพียงครั้ง
เดียว คนที่เคยดีก็จะรู้สึกติดอกติดใจ อยากไปร่วมกิจกรรมซ้ำอีก
แม้จะมีสติและสัมมาทิฏฐิ สามารถเตือนตน หรือห้ามปรามไม่ให้ไปสร้างกรรมชั่วอีกอยู่ใน
ระดับหนึ่งก็จะไม่สำเร็จ เพราะกิเลสที่เคยนอนนิ่งอยู่ในใจของคนดี ได้ถูกปลุกขึ้นมาสู้รบ ปรบมือกับสัมมา
ทิฏฐิแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกร้อนรนกระวนกระวายจนหาความสงบมิได้ มิตรเทียมรู้จุดอ่อนข้อนี้ดี จึงต้อง
บทที่ 3 ค ว า ม ยั่งยืน แห่ง คุณสมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 119