กฎแห่งกรรมและความรับผิดชอบในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 85
หน้าที่ 85 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมที่มีผลต่อชีวิตผู้กระทำผิด โดยเฉพาะการทำร้ายผู้อื่น รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการเว้นอคติ 4 เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม โดยแสดงถึงกรณีศึกษาที่มีคุณค่าทางจริยธรรมและการพัฒนาความเข้าใจในกฎแห่งกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิด ในการศึกษานี้ยังได้เน้นถึงความจำเป็นในการมีความสำนึกต่อศักดิ์และศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นโดยการหลีกเลี่ยงการแสดงออกที่ไม่ถูกต้องในสังคม

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ความรับผิดชอบ
-การเว้นขาดจากอคติ
-การพัฒนาสังคม
-พฤติกรรมที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในอดีตกาล มีพวกโจรซุ่มอยู่ที่ปากดงแห่งชนบทชายแดนแห่งหนึ่งในแคว้นของพระเจ้าพาราณสี พระราชาจึงตั้งราชภัฏ (ข้าราชการ) คนหนึ่งไว้ที่ปากดงนั้น เพื่อคอยให้ความปลอดภัยแก่ราษฎรที่เดิน ทางจากฟากนี้ไปยังฟากโน้น หรือจากฟากโน้นมายังฟากนี้ วันหนึ่ง มีชายคนหนึ่งขับยานน้อยมากับภรรยารูปงาม ไปถึงที่นั่นแล้ว ขอร้องให้ราชภัฏพา เขาทั้งสองข้ามดงไป เนื่องจากราชภัฏนั้นเกิดความเสน่หาภรรยาของชายคนนั้น จึงคิดจะฆ่าสามีของเธอเพื่อเอา เธอมาเป็นภรรยา เขาจึงแสร้งปฏิเสธ และแนะนำว่าให้คอยถึงเช้าตรู่ โดยแนะนำให้คู่สามีภรรยาพักค้าง คืนที่ซุ้มประตูบ้านของเขา แม้สองสามีภรรยา จะอ้อนวอนว่ายังไม่มืดค่ำ ราชภัฏก็ไม่ยอมฟัง สามีภรรยาคู่ นั้น จึงต้องจำใจค้างคืนอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของราชภัฏ ตอนกลางคืน ราชภัฏนั้นได้ให้คนใช้ของเขาแอบเอาแก้วมณีดวงหนึ่งไปซ่อนไว้ในซอกแห่ง ยานน้อยนั้น ครั้นพอรุ่งเช้า ก็โวยวายว่าแก้วมณีหายไป และให้บริวารช่วยกันค้นได้ที่ยานของสามีภรรยาคู่ นั้นราชภัฏกับบริวารจึงช่วยกันทุบตีบุรุษเจ้าของยานน้อยนั้นจนตายแล้วให้เอาศพไปทิ้งเสียนี่คือบุพกรรมของ มหากาลผู้เคยเป็นราชภัฏนั้น เพราะกรรมนั้น เขาจึงได้บังเกิดในอเวจีมหานรก หมกไหม้อยู่ในอเวจีนั้นสุด แสนนาน เมื่อพ้นจากมหานรกมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้น เขาก็ถูกทุบตายมาแล้วถึง 100 ชาติ จากเรื่องทั้ง 2 ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ นักศึกษาคงจะได้เห็นแล้วว่า การทำกรรมกิเลส ไม่ว่า จะเพียงเล็กน้อย หรือร้ายแรงเพียงใด ในที่สุดผู้ก่อกรรมจะต้องเสวยวิบากกรรมร้ายแรงยิ่งกว่ากรรมที่ตน ก่อขึ้นอย่างเทียบกันไม่ได้เลย เพราะเหตุนี้ผู้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง มีความเข้าใจและเชื่อ กฎแห่งกรรมอย่างจริงใจ จึงพยายามหลีกเลี่ยงกรรมกิเลสอยู่เสมอ จะมีก็แต่มิจฉาทิฏฐิชนเท่านั้น ที่ชอบ แสดงพฤติกรรมท้าทายกฎแห่งกรรมอยู่เนืองๆ 2.3.2 ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม บุคคลที่มีความสำนึกรับผิดชอบประการที่ 2 นี้ มีพฤติกรรมอย่างไร พฤติกรรม หรือการปฏิบัติที่แสดงว่าคนเรามีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความ เป็นมนุษย์ของผู้อยู่ร่วมสังคม ก็คือ การเว้นขาดจากอคติ 4 อคติ 4 คืออะไร อคติ แปลว่า ความลำเอียง ได้แก่การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์กลับได้รับ ผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือผู้ควรได้รับน้อยกลับได้รับมาก ส่วนผู้ที่ควรได้รับมากกลับได้รับน้อย เป็นต้น 70 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More