ความสำคัญของสังคหธรรมในพระพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 294
หน้าที่ 294 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของสังคหธรรมทั้ง 4 ประการ ได้แก่ การให้, วาจาน่ารัก, การช่วยเหลือประโยชน์, และการวางตนสม่ำเสมอ ซึ่งคอยช่วยอุ้มชูสังคม หากไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้ก็ไม่สามารถรักษาความนับถือในครอบครัวได้ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงอริยวินัยตามหน้าที่ที่เราควรดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำความดี การฝึกฝนตัวเองตามอริยวินัยจะช่วยกำจัดบาปกรรมและสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสังคหธรรม
-สังคหธรรม 4 ประการ
-อริยวินัยในชีวิตประจำวัน
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-การสร้างสังคมที่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คาถาประพันธ์มีต่อไปอีกว่า ทาน (การให้) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่น่ารัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้ และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ในธรรมนั้นๆ ตามสมควร สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก เหมือนลิ่มสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น ถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้ มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือ หรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้จึงถึงความ เป็นใหญ่และเป็นผู้น่าสรรเสริญ อธิบายความ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีว่า การปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ ที่เราพึงปฏิบัติต่อทิศ 6 ของเราก็ดี การปฏิบัติอริยวินัยตาม หน้าที่ของทิศ 6 แต่ละทิศที่ พึงปฏิบัติต่อตัวเราก็ดี การที่จะปฏิบัติอริยวินัยเหล่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลถึงขั้นกำจัด บาปกรรม 14 ประการ ของแต่ละฝ่ายให้สิ้นไปนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเหตุนี้พระพุทธ องค์จึงทรงแสดงอริยวินัยไว้อีกหมวดหนึ่ง สำหรับอบรมขัดเกลาแต่ละฝ่าย ให้มีศิลปะใน การผูกสมัครรักใคร่ ห่วงใย จูงใจ และให้เอื้ออาทรต่อกันอยู่เสมอ ซึ่งจะมีผลให้แต่ละฝ่าย ใส่ใจปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ อริยวินัยหมวดนั้นคือ สังคหธรรม 4 ประการ ซึ่งประกอบด้วย 1. ทาน หมายถึง การให้สิ่งของที่เหมาะที่ควรแก่ผู้ขาดแคลน 2. เปยยวัชชะ หมายถึง การพูดถ้อยคำน่ารัก ซาบซึ้งใจ ก่อให้เกิดกำลังใจในการ ทำความดี และบุญกุศลทุกรูปแบบ 3. อัตถจริยา หมายถึงการช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นการช่วย เหลือทางด้านแรงกาย ด้านสติปัญญา ความรู้ความสามารถ ที่พอเหมาะพอควรแก่ผู้ ขาดแคลน บทที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 279
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More