การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิในสังคม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 237
หน้าที่ 237 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิในผู้คนเพื่อสร้างสังคมที่ดี โดยมีการถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน การสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรสำคัญในการเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน การปฏิบัติตามอริยวินัยที่พระพุทธองค์กำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำให้ผู้อื่นซึมซับธรรมะอย่างเหมาะสมและประสบความสำเร็จในชีวิต การพัฒนาคนดีจึงต้องอาศัยการปลูกฝังที่เข้มแข็งจากทุกด้าน รวมถึงเยาวชนที่มีคุณธรรมสูงสุดเพื่ออนาคตของสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ
-การถ่ายทอดความดี
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-การพัฒนาสังคม
-อริยวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ขอแต่เพียงให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจธรรมะหมวดต่างๆ อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน เกิดความเข้าใจถูกต้อง อย่างลึกซึ้งในสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ ถึงขั้นเข้าไปอยู่ในใจ และยึดถือเป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ด้วย ศรัทธามั่นในคุณของพระรัตนตรัย และพระพุทธศาสนา เพียงเท่านี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อทุกฝ่าย ตลอดถึงสังคมและบ้านเมือง อย่างแน่นอน 4. การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน การปลูกฝังด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งเข้า สู่อาชีพการงานแล้ว ขบวนการปฏิรูปมนุษย์ที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นก็จัดอยู่ในการปลูกฝังวิธีนี้ด้วย กล่าวคือ บุคคลที่มีปัญญา รู้จักสังเกตพิจารณาผู้คนแวดล้อมอย่างรอบคอบ เมื่อได้มีโอกาสคบหาสมาคมกับเพื่อนดี หรือคนดีมีสัมมาทิฏฐิ ได้ฟังความคิดเห็น ได้สังเกตพฤติกรรมมิตรแท้ของกัลยาณมิตร ก็รู้ว่าตนเองยังมี ข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุง จึงพยายามถ่ายทอดซึมซับ ความดีงามของกัลยาณมิตรเหล่านั้นมาเป็นของตน ขณะเดียวกันก็พยายามเก็บสงวนพฤติกรรมทางกาย และวาจา ที่ไม่งามหรือไม่เหมาะสมของตนไว้ ไม่ยอม ให้ปรากฏออกมาเป็นที่น่าอาย น่ารังเกียจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของตน การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกันนี้ มีหลักการและวิธีการ ทำนองเดียวกับการใช้ตะแกรง กายสิทธิ์ร่อนหามิตรแท้ ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ 3 การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกันนี้จะได้ผลอย่างแท้จริง ในเครือข่ายของกัลยาณมิตร เพราะฉะนั้นการสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรขึ้นในบ้าน หมู่บ้าน ชุมชน สังคม ทุกระดับจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก (ประเทศที่เจริญแล้ว เครือข่ายกัลยาณมิตรจะอยู่ในรูปองค์กรต่างๆ เช่น สมาคม มูลนิธิ กลุ่มอาสาสมัคร ตลอดจนวัดวาอารามต่างๆ จึงมีจำนวนมาก บางองค์กรใหญ่มากจนกลายเป็น องค์กรระหว่างประเทศ) 6.3.2 ผู้ให้การปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิ ใครคือผู้รับผิดชอบในการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิบ้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ทิศ 6 ของแต่ละคนทำหน้าที่รับผิดชอบในการปลูกฝัง อบรมสัมมาทิฏฐิ ให้เข้าไปอยู่ในใจของคนเรา โดยทรงกำหนดเป็นอริยวินัย ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ในแต่ละทิศอย่างเคร่งครัด ดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 4 คือผู้อยู่ในฐานะทิศ 6 ต้อง รับผิดชอบในเรื่องการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิให้แก่บุคคลที่ตนแวดล้อมอยู่ อย่างไรก็ตาม ในบรรดาทิศทั้ง 6 นี้ ทิศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิให้ เข้าไปอยู่ในใจของผู้คนคือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา และทิศเบื้องบน กล่าวคือทิศเบื้องหน้า ย่อมมีหน้าที่ ปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่บุตรธิดาของตน ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทิศเบื้องขวาย่อม มีหน้าที่ปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่ศิษย์ของตนตลอดเวลา ที่เหล่าศิษย์อยู่ในสถาบันการศึกษา ถ้าทิศเบื้อง หน้าและเบื้องขวายึดทิศเบื้องบนเป็นสรณะ เด็กๆ ก็จะได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิจากทิศเบื้องบนอีกทางหนึ่ง เด็กๆ ที่ได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ จากทั้ง 3 ทิศ ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ย่อมมั่นใจได้ว่าพวกเขาจะต้อง เติบโตเป็นคนดีที่โลกต้องการ มีคุณสมบัติของกัลยาณมิตร สมบูรณ์พร้อมอย่างแน่นอน นั่นคือต่อแต่นี้ไป 222 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More