ข้อความต้นฉบับในหน้า
กล่าวคือ ถ้าช่วงใดที่กรรมดีมีแรงมาก ก็จะออกผลก่อน ทำให้กรรมชั่วหมดโอกาสออกผล จึง
จำเป็นต้องตั้งท่าคอยโอกาสอยู่ จนกระทั่งกรรมดีหมดแรง ต่อจากนั้นก็จะเป็นโอกาส แห่งการออกผลของ
กรรมชั่วบ้าง เพราะเหตุนี้ชีวิตของคนเราจึงมีทั้งสุขและทุกข์สลับกันไป อย่างไรก็ตามกาลเวลาแห่งการให้
ผลของกรรมแต่ละอย่างที่เราทำ มีอยู่ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
ระยะที่ 2 กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
ระยะที่ 3 กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไปไม่มีกำหนด จนกว่าจะหมดกิเลส บรรลุพระนิพพาน
ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมมีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ที่เกิดจากความเข้าใจเรื่องกรรม ที่สำคัญมีอยู่ 6 ประการ คือ
1) รู้ว่าทุกคนมีใจ ดังที่กล่าวว่า “กรรม” หมายถึง “การกระทำโดยเจตนา” เจตนาคือความ
ตั้งใจ เนื่องจากมีใจเป็นผู้สั่ง คนเราจึงแสดงพฤติกรรมออกมาทางกาย และวาจา
2) รู้ว่าตายแล้วไม่สูญ หมายความว่า เมื่อตายแล้วจะสูญสลายเฉพาะร่างกายที่ถูกเผา หรือ
ถูกฝังไว้ ร่างกายที่ไร้วิญญาณก็จะเน่าเปื่อยผุพังสูญสลายไปเองในที่สุด ส่วนใจหรือ จิต หรือวิญญาณ จะ
ไปแสวงหาที่อยู่ใหม่ ถ้าใจนั้นยังมีกิเลสอยู่ ก็จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3) รู้ว่าไม่มีใครสามารถเลี่ยงวิบากกรรมที่ตนทำไว้ได้ ผู้ทำผิดกฎหมายบ้านเมืองบางคน ถ้า
ขาดพยานหลักฐาน กฎหมายก็เอาผิดเขาไม่ได้ หรือถ้าเขาหลบหนีไปกบดานอยู่ในป่าไปอยู่ต่างประเทศ เขา
ก็อาจจะรอดพ้นจากความผิดได้ แต่สำหรับ เรื่องวิบากของกรรมนั้น ไม่มีใครหลบเลี่ยงวิบากแห่งกรรมชั่ว
ของตนได้เลย คือผู้ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ปาปวรรค 2 ว่า
“บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้หนีไปแล้วในอากาศก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้
หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วใน
ประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ประเทศแห่งแผ่นดินนั้นหามีอยู่ไม่”
4) รู้ว่าการทำกรรมดีไว้ย่อมได้รับผลดีเป็นรางวัล คือมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในโลกนี้ เมื่อ
ละโลกไปแล้วก็จะไปเสวยสุขในชีวิตบนสรวงสวรรค์ แต่ถ้าใจของผู้นั้นหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ย่อมบรรลุ
พระนิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ปาปวรรค ว่า
“ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นทางแห่งสุคติย่อมไป
สวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน”
1
นิทานสูตร อัง.ติก.มก. 34/473/118
2 ขุ. ธ. มก. 42/19/3
3
ขุ. ธ. มก. 42/19/3
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์
DOU 25