การวิเคราะห์ความล้มเหลวของทิศ 6 GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 217
หน้าที่ 217 / 298

สรุปเนื้อหา

บทวิเคราะห์นี้กล่าวถึงการขาดความรู้และการปฏิบัติธรรมของชุมชนตามทิศ 6 ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคใจแห้งในสังคม โดยมีสาเหตุมาจากการขาดความสนใจศึกษา ทำให้เกิดความไม่รับผิดชอบและส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น การใช้อารมณ์เป็นใหญ่ ความขาดความรับผิดชอบในครอบครัว การทำแท้ง และอุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุรา。นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงอาการของโรคใจแห้ง วิธีการแก้ไขปัญหา และผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความไม่รับผิดชอบและการขาดความรู้ในธรรมะตามหลักศาสนา。เนื้อหามุ่งเน้นให้ผู้อ่านได้เห็นความสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปสู่ความสุขและความรู้ในสังคมที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การขาดความรู้เกี่ยวกับธรรมะ
-ผลกระทบต่อสังคม
-อาการของโรคใจแห้ง
-ความรับผิดชอบในสังคม
-การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.5 สรุปความล้มเหลวของทิศ 6 ถ้าท่านผู้อ่านได้ตรองตามธรรมบรรยายในบทนี้ ตั้งแต่ต้นจนถึงขณะนี้ แล้วนึกเปรียบเทียบ กับสภาวการณ์จริงในสังคม ท่านย่อมจะเห็นได้แล้วว่า ผู้คนโดยทั่วไปในสังคม หรือจะขอเรียกว่าทิศ 6 มิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามอริยวินัย เพราะความไม่รู้ ซึ่งเนื่องมาจากไม่ได้สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรม ประการหนึ่ง สาเหตุที่ไม่ได้สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมนี่เอง ที่ทำให้ทิศ 6 ขาดความรู้เรื่องสังคหวัตถุ 4 จึง ทำให้ขาดศิลปะในการครองใจคน อีกประการหนึ่ง ทิศ 6 การขาดความรู้เรื่องสังคหวัตถุ 4 มีผลเสียอย่างไร ผลเสียของการขาดความรู้ธรรมะหมวดนี้ก็คือ เกิดโรคใจแห้ง หรือโรคแล้งน้ำใจ ระบาดในหมู่ โรคใจแห้งหรือโรคแล้งน้ำใจ มีอาการอย่างไร อาการที่เห็นได้ง่ายของโรคใจแห้ง มีอยู่ 3 ประการ คือ 1) ไม่มีเหตุผล หมายความว่า ผู้คนต่างใช้อารมณ์เป็นใหญ่ สิ่งใดที่ทำให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน รู้สึกพอใจ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะผิดศีลธรรม ผิดวัฒนธรรม ผิดกฎหมาย คนเราก็ยินดีทำเพื่อสนองตัณหาของตน เพราะเหตุนี้ จึงปรากฏว่า ผู้คนทั่วไปนิยมความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย โดยไม่คำนึงถึงฐานะทาง เศรษฐกิจของตน เมื่อไม่มีเงินพอที่จะจับจ่ายใช้สอย บางคนก็ใช้วิธีกู้หนี้ยืมสิน บางคนก็หันไปค้ายาเสพติด และสิ่งผิดกฎมาย บางคนก็หันไปเล่นการพนัน บางคนก็หันไปทำอาชีพโจรกรรม บางคนก็ขายบริการทาง เพศ ฯลฯ ครั้นเมื่อประสบปัญหา ที่ทำให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน ก็แก้ปัญหาด้วยการล้างผลาญ ชีวิตกันบ้าง ยกพวกประหัตประหารกันบ้าง หรือมิฉะนั้นก็ฆ่าตัวตายบ้าง เป็นต้น กรรมชั่วเหล่านี้ล้วน แสดงให้เห็นความไม่มีเหตุผลของคนที่เป็นโรคใจแห้งทั้งสิ้น 2) ขาดความรับผิดชอบ การขาดความรับผิดชอบสำคัญ 4 ประการ ดังกล่าวแล้ว รวมทั้ง ความรับผิดชอบที่สำคัญรองลงไป และไม่ได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ ย่อมเป็นสาเหตุให้ผู้คนก่อกรรม ชั่วต่างกรรมต่างวาระ แตกต่างกันไปอย่างกว้างขวาง เช่น บางคนเมื่อรู้ว่าตนตั้งครรภ์ก็ทำแท้ง บางคน เมื่อทารกในไส้เกิดมาดูโลกแล้ว ก็หาวิธีทำให้ตายเสีย การที่ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียชีวิต จากอุบัติเหตุ ในระหว่างเทศกาลต่างๆ เพราะการดื่มสุรายาเมา ก็ล้วนเนื่องมาจากการขาดความรับผิดชอบของคนที่ เป็นโรคใจแห้งทั้งสิ้น 3) ขาดหิริโอตตัปปะ หิริ คือความอายบาป โอตตัปปะ คือความกลัวบาป บุคคลที่มักทำผิด 202 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More