ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.2.2 วัยผู้ใหญ่
หมายถึงผู้ที่เข้าสู่วงการอาชีพแล้ว ผู้คนแต่ละคนย่อมเริ่มเข้าสู่วงการอาชีพช้าหรือเร็วต่างกัน
โดยทั่วไป ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่วงการอาชีพแล้ว ถือว่า
ทุกคนอยู่ในวัยผู้ใหญ่ทั้งสิ้น
สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสัมมาทิฏฐิย่อหย่อนคลอนแคลนใครจะเป็นผู้ปฏิรูป
ตนเองนั่นแหละจะต้องปฏิรูปตนเอง โดยมีกัลยาณมิตรเป็นผู้ชี้แนะและให้กำลังใจ
ปฏิรูปตนเองมีความหมายอย่างไร
บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะโดยทั่วไป เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ย่อมมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง
มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ยอมเชื่อฟังใครง่ายๆ ยิ่งบุคคลที่มีการศึกษาทางโลกสูง ก็จะยิ่งมีความเชื่อ
มั่นในตนเองสูงตามไปด้วย ดั่งที่เรียกว่า “ติดอัตตา” นั่นแหละ และถ้าบุคคลขาดความรู้ทางธรรม เขาก็
จะมีสัมมาทิฏฐิย่อหย่อน กล่าวให้ตรงก็คือ มีมิจฉาทิฏฐินั่นเอง เพียงแต่อาจจะยังไม่ถึงขั้นมิจฉาทิฏฐิดิ่งเท่านั้น
บุคคลเหล่านี้ คราใดที่ถูกกิเลสบีบคั้นใจให้ทำสิ่งหนึ่งประการใด ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด เขาก็กล้า
เสี่ยงเอาชีวิตเป็นเดิมพันกระทำสิ่งนั้น เข้าทำนอง “ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้” เช่น การคอรัปชั่น ฆาตกรรม
ค้ายาเสพติด ฯลฯ เพราะเหตุนี้จึงมีกรณีผู้คนเสี่ยงท้าทายกฎหมาย ที่กำหนดโทษรุนแรงถึงขั้นประหาร
ชีวิตอยู่ทุกยุคทุกสมัยทั่วโลก
ทั้งนี้ย่อมแสดงว่า ไม่มีใครสอนใครได้ นอกจากตัวเองต้องสอนตัวเอง เพราะเหตุนี้พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า
“เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดูตนด้วยตน ภิกษุ เธอนั้น
มีสติ ปกครองตนได้แล้ว จักอยู่สบาย ตนแหละเป็นนาถะ(ที่พึ่งของตน ตน
แหละเป็นคติของตน...” 1
เพราะฉะนั้นประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนเราจึงจะสอนตัวเองได้
คุณค่าและบทบาทของกัลยาณมิตรจึงอยู่ตรงนี้เอง คือช่วยเหลือชี้แนะบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะ
มีปัญญาทางโลก แต่ขาดปัญญาทางธรรม ให้รู้จักจับแง่คิดจากคำชี้แนะนั้นมาสอนตนเอง จนเกิดปัญญา
ตรองเห็นว่า อะไรคือดี-ชั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควร ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ ถ้าบุคคลตรองได้เช่นนี้แล้ว เขา
ก็จะเกิดปัญญาปฏิรูปตนเอง ดังมีกรณี พระยาปายาสิ
1
ภิกขุวรรค ขุ. ธ. มก. 43/35/339
* ปายาสิราชัญญสูตร ที. มหา. มก. 14/301/369
บทที่ 5 กุญแจไขความสำเร็จของ ทิศ 6 DOU 185