อุบาสกผู้ถึงสรณะและการปฏิรูปมนุษย์ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 296
หน้าที่ 296 / 298

สรุปเนื้อหา

สิงคาลกสูตรเป็นพระสูตรที่สอนหลักการอริยวินัยสำหรับคฤหัสถ์ในการเป็นคนดี โดยมีการไหว้ทิศ 6 และสำนึกรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเคร่งครัด ทั้งยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงอบายมุขและทำตามหลักการอันเหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นคู่มือสำหรับการพัฒนาตนเพื่อให้กลายเป็นบุคคลที่ดีที่สังคมต้องการ โดยมีกรอบการประพฤติปฏิบัติที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกแง่มุม

หัวข้อประเด็น

-สิงคาลกสูตร
-อริยวินัย
-การปฏิรูปมนุษย์
-ความรับผิดชอบ
-ศีลธรรมในคฤหัสถ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” อธิบายความ : เมื่อฟังพระธรรมเทศนาจบลง สิงคาลกะเกิดดวงปัญญา สว่างโพลง ขึ้นในใจว่า การไหว้ทิศ 6 ที่พ่อของตนเองสั่งไว้ก่อนตายนั้น หมายถึง การประพฤติตนเป็น มิตรแท้ต่อผู้อื่น ด้วยการไม่ทำกรรมกิเลส 4 ไม่มีอคติ 4 ไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข 6 โดย เด็ดขาด ยิ่งกว่านั้น ยังจะต้องปฏิบัติตนอย่างถูกต้องดีงาม กับบุคคลรอบข้างแต่ละคน ให้ สมกับฐานะ ที่เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลในทิศทั้ง 6 ของตน ตามหน้าที่ ที่พระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ทรงบัญญัติไว้ประจำทิศทั้ง 6 และเมื่อทำได้ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นการปฏิรูป ตนเองให้เป็นมนุษย์ที่ดีพร้อม สมควรเป็นคนดีที่โลกต้องการ แม้ยังไม่บรรลุธรรม เป็นพระ อริยเจ้าเช่นเดียวกับพ่อแม่ของเขา แต่ก็ใกล้เข้าไปมากแล้ว จึงได้กล่าวสรรเสริญการแสดง ธรรมของพระพุทธองค์ และประกาศตนเป็นอุบาสก มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระสูตรนี้ไว้ว่า “เป็นพระสูตรที่กล่าว ถึงอริยวินัย ของคฤหัสถ์ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก เพราะได้ตรัสครอบคลุมข้อควรประพฤติ ปฏิบัติทุกสิ่งทุกประการในการปฏิรูปมนุษย์ไว้อย่างครบถ้วน และ ถือได้ว่าอริยวินัยใดๆ อัน เป็นของคฤหัสถ์ที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้ตรัสไว้ใน “สิงคาลกสูตร” นี้ ย่อมไม่มีอีกแล้ว สรุป สิงคาลกสูตร คือ พระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอริยวินัยของคฤหัสถ์ เพื่อใช้ เป็นมาตรฐานในการปฏิรูปมนุษย์ ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ โดยมุ่งให้แต่ละคนมีความสำนึกรับผิดชอบ อย่างเคร่งครัดต่อตนเอง และผู้อื่น และ ศีลธรรมถึง 4 ประการด้วยกัน คือ 1. คนดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองด้วยการไม่ ทํากรรมกิเลส 4 2. คนดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นด้วยการไม่ทำ อคติ 4 3. คนดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข 6 4. คนดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบในการปิดป้องทิศ 6 ให้พ้นจากบาปกรรม 14 ทั้งหมดนี้ คือหลักการ ปฏิรูปมนุษยชาติให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ ดังปรากฏอยู่ใน สิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก ซึ่งสืบทอดมายาวนานกว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว ขอเชิญนักศึกษา พิจารณา ไตร่ตรองให้ลุ่มลึก และนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้สมควรแก่ธรรมเถิด บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 281
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More