สร้างบารมีและความสำนึกรับผิดชอบในชีวิต GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 233
หน้าที่ 233 / 298

สรุปเนื้อหา

งานสร้างบารมีเป็นงานที่ยากยิ่ง สัมภูติในอดีตมีการสละชีวิตเพื่อสร้างบารมี สำหรับผู้ครองเรือน แม้จะทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่สามารถเริ่มปฏิบัติได้เมื่อมีความพร้อม โดยตั้งเป้าหมายชีวิตที่ต้องการบรรลุสามระดับ การมีสัมมาทิฏฐิและความสำนึกรับผิดชอบจะช่วยพัฒนาให้ตนเป็นคนดี มีความสามารถในการเลี้ยงตนเองและไม่เป็นภาระของสังคม นอกจากนี้ยังต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อมนุษย์อื่น ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการกระทำด้วยปัญญาเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-การตั้งเป้าหมายชีวิต
-สัมมาทิฏฐิ
-ความรับผิดชอบ
-ศีลธรรมในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

งานสร้างบารมีเป็นงานที่ยากยิ่ง พระอรหันตสาวกแต่ละองค์ก่อนจะบรรลุอรหัตผล ในสมัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น ล้วนเคยสละชีวิตเป็นเดิมพัน สร้างบารมีข้ามภพข้ามชาติมาเป็นเวลา นานนับด้วยกัปแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่างานสร้างบารมีเพื่อบรรลุเป้าหมายระดับสูงนี้ เป็นงานของ บรรพชิตโดยเฉพาะ ผู้ครองเรือนที่ยังต้องสาละวนอยู่กับการทำมาหากิน เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เลี้ยง ครอบครัวอยู่นั้นจึงหาโอกาสได้ยาก กระนั้นก็ตาม ผู้ครองเรือนท่านใด ที่ตั้งความปรารถนาจะบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับสูง หากมี ความพร้อมที่จะดำรงอยู่ในสมณเพศเมื่อใด ก็ย่อมสามารถตั้งต้นปฏิบัติได้เมื่อนั้นในชาตินี้ ด้วยการบวช ตลอดชีวิต หากใครยังไม่พร้อมก็บวชช่วงสั้นเป็นครั้งคราวก่อนก็ได้ การที่สัมมาทิฏฐิชน รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิต 3 ระดับนี้ ก็เพราะปัญญาทางธรรมของเขานั่นเอง บุคคลที่มีปัญญาทางธรรม ย่อมมีปัญญาทางโลกอย่างแน่นอน แม้เขาจะมีฐานะไม่ร่ำรวย แต่เขาก็สามารถ พึ่งตนเองได้ เลี้ยงตนเองได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ ไม่ต้องเป็นภาระของสังคมหรือของใครๆ ไม่เป็น พิษเป็นภัยต่อสังคม เพราะเขาเป็นคนดี ขณะเดียวกัน เขาก็อาจจะเป็นที่พึ่ง หรือผู้ชี้ทางสว่างให้แก่สังคมได้ ในงานที่เขาถนัดและมีประสบการณ์ แต่ถ้าเขามีฐานะร่ำรวย เขาก็จะสามารถเป็นทั้งที่พึ่งและผู้ชี้ทางสว่าง ให้แก่สังคมได้อย่างกว้างขวาง การรู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตทั้ง 3 ระดับก็ดี การกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ดี คนดีมีสัมมาทิฏฐิล้วน ตรองด้วยปัญญาอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำทั้งสิ้น เพราะเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า คนดีมีสัมมาทิฏฐิเป็น คนมีปัญญา หรือกล่าวสั้นๆ ว่า “ไม่โง่” นั่นเอง 2. มีความสำนึกรับผิดชอบ บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมจะพัฒนา ความสำนึกรับผิดชอบด้านต่างๆ ขึ้นมาอย่างกว้างขวาง แต่ความสำนึกรับผิดชอบที่เป็นคุณสมบัติสำคัญ ยิ่งของคนดีที่โลกต้องการนั้นมีอยู่ 4 ประการ คือ 1) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ด้วยการละ กรรมกิเลส 4 ประการ คือการรักษาศีล 4 ข้อแรก ในศีล 5 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั่นเอง 2) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นซึ่งอยู่ร่วมสังคม ด้วยการละอคติ 4 ประการ 3) ความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข 6 ประการ 4) ความสำนึกรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 4.1) สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล ได้แก่ทิศ 6 ของตนเอง ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อ ทิศ 6 218 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More