วิบากกรรมและการตัดสินโดยอยุติธรรมในพระพุทธศาสนา GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 88
หน้าที่ 88 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาว่าด้วยวิบากกรรมของผู้ที่เคยตัดสินคดีอย่างไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นเปรตที่ต้องทนทุกข์ทรมาน โดยมีตัวอย่างจากพระราชาในอดีตที่บำเพ็ญทานและรักษาศีลอย่างเคร่งครัด แต่มีปุโรหิตที่ไม่ซื่อสัตย์ส่งผลกระทบต่อการวางตัวและการรักษาอุโบสถศีลในสังคม ทำให้เห็นชัดเจนว่าผลกรรมจะตามทันผู้กระทำผิดในที่สุด

หัวข้อประเด็น

- วิบากกรรมของการตัดสินโดยไม่เป็นธรรม
- ผลกรรมของผู้พิพากษา
- การรักษาอุโบสถศีล
- ตำนานเกี่ยวกับเปรตในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ลอยอยู่กลางอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินไป ก็ยกอัณฑะของตนพาดไว้บนบ่า เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะนั้นนั่นแหละ ฝูงแร้ง ฝูงกา ฝูงเหยี่ยว ต่างก็โผถลา ตามจิกทั้งเปรตนั้น ทำให้เปรตส่งเสียงร้องครวญครางด้วยความ เจ็บปวดแสนสาหัส” ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายที่มาเฝ้าว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวก ทั้งหลายที่มีจักษุ มีญาณ ก็มีอยู่ สาวกที่รู้เห็นสิ่งนี้ย่อมเป็นพยานได้ อันที่จริงเมื่อก่อน เราก็เคยเห็น กุมภัณฑเปรตนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ได้พยากรณ์ (เปิดเผยสู่สาธารณชน) เพราะการพยากรณ์นั้น จะไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนานแก่ผู้ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตตนนั้น เคยเป็นผู้พิพากษาที่กินสินบน แล้วตัดสินคดีอย่างไม่เป็นธรรม ใน กรุงราชคฤห์นี้เอง เพราะผลกรรมนั้นเขาจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายล้านปี ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ เขา จึงได้อัตภาพเปรตเช่นนั้น” เรื่องที่ 2 วิบากกรรมของการตัดสินโดยอยุติธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภผลแห่งการ รักษาอุโบสถเพียงครึ่งวันของปุโรหิตคนหนึ่ง จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาแสดง 1 ว่า ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองพระนครพาราณสีโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทานและศีล อย่างเคร่งครัด ทรงรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระ พร้อมทั้งทรงชักชวนชาวเมือง และข้าราชบริพารให้รักษา อุโบสถศีลด้วย แต่ปุโรหิตของพระองค์เป็นผู้ชอบกินสินบน รีดไถประชาชน วินิจฉัยคดีอย่างไม่เป็นธรรม และ ไม่ยอมสมาทานอุโบสถศีล ในวันอุโบสถวันหนึ่ง พระราชาตรัสสั่งให้อำมาตย์ข้าราชบริพารมาเฝ้า แล้วตรัสถามถึงการ สมาทานอุโบสถศีล ทุกคนก็ทูลตอบว่าสมาทานอุโบสถศีลกันถ้วนหน้า แม้แต่ปุโรหิตผู้นั้นซึ่งไม่เคยสมาทานเลย ก็ทูลคำเท็จว่าสมาทานแล้วพะย่ะค่ะ แล้วหลบหน้าลงจากปราสาทไป ภายหลังต่อมา ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งเข้าไปทักท้วงปุโรหิตว่า เหตุใดเขาจึงทูลคำเท็จ พราหมณ์ ปุโรหิตนั้นจึงแก้ตัวว่า เมื่อเขากลับบ้านในตอนเย็นวันนั้นเขาก็จะไม่บริโภคอาหารเย็น คือจะรักษาอุโบสถ ศีลในเวลากลางคืน การปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเขารักษาอุโบสถศีลได้ครึ่งวัน เมื่อปุโรหิตกลับถึงบ้านแล้ว เขาก็ปฏิบัติดังเช่นที่กล่าวไว้ นี่คือความดีประการแรกของปุโรหิต ผู้มีนิสัยชอบทุจริต อยู่มาวันหนึ่ง มีสตรีผู้หนึ่งมายื่นฟ้องคดีกับปุโรหิต เมื่อยังไม่ได้โอกาสที่จะกลับบ้าน เธอก็ไม่ ละเลยที่จะสมาทานอุโบสถศีล เมื่อใกล้เวลา นางจึงเริ่มบ้วนปาก เพื่อจะสมาทานอุโบสถศีล ขณะนั้น บังเอิญมีผู้นำมะม่วงสุกมาให้พราหมณ์ผู้ชอบกินสินบนพวงหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิตรู้ว่า หญิงนั้นเตรียมจะ สมาทานอุโบสถ เขาจึงส่งมะม่วงให้หญิงนั้น พร้อมกับพูดว่า เจ้าจงรับประทานมะม่วงนี้ก่อน แล้วค่อย * อรรถกถา กิงฉันทชาดก ขุ. ชา. มก. 61 หน้า 301-303 บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More