ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในชีวิตมนุษย์ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 269
หน้าที่ 269 / 298

สรุปเนื้อหา

คำว่า 'โลก' ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่สัตวโลกและสังขารโลก แต่ยังรวมถึงโอกาสโลกที่เป็นที่อยู่ของมนุษย์และสัตว์ สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการทำให้มนุษย์มีความสุข ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมที่เป็นผู้คน และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ การปฏิบัติตนให้ดีควรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและต้องมีความรับผิดชอบต่อที่อยู่ของเรา.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
-ทิศ 6
-กรรมกิเลส 4
-การอนุรักษ์ธรรมชาติ
-ระดับความรับผิดชอบต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนึ่ง คำว่า โลก นอกจากจะหมายถึง สัตวโลก (มนุษย์ และสัตว์) และสังขารโลก (ร่างกายของ มนุษย์และสัตว์) แล้ว ยังหมายรวมไปถึง โอกาสโลก คือ สถานที่ หรือ ภาชนโลก สำหรับรองรับสัตวโลก ทั้งหลาย ไว้ใช้เป็นที่อยู่ เป็นที่ทำมาหากิน ตลอดถึงเป็นที่สร้างกรรมดีต่างๆ (มิจฉาทิฏฐิชนเท่านั้นที่ อาศัยสร้างกรรมชั่ว) อันได้แก่ ผืนแผ่นดิน ผืนน้ำ และ ฟ้า ฯลฯ ซึ่งรวมเรียกว่า สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ อีกด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งแวดล้อมสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้คนเราอยู่ดีมีสุขนั้น ย่อมต้องประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท คือ 1. สิ่งแวดล้อมที่เป็นผู้คน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม และให้ชื่อว่า ทิศ 6 2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ทั้งใกล้ และไกลตัวเรา ยิ่งสภาวะบรรยากาศโดยรอบตัวเราที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ดังที่เรา ท่าน ได้สัมผัสรับรู้กันในปัจจุบันนี้ ก็พอจะตระหนักกันได้ดีว่า สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาตินั้น มีความสำคัญไม่แพ้ทิศ 6 เลย โดยสรุปก็คือ คนดีนั้น นอกจากตนจะเป็นผู้ปราศจากบาป กรรม 14 ประการ สามารถปิดป้อง ทิศ 6 ของตนให้พ้นจากบาปกรรม 14 ประการแล้ว ยังจะต้องไม่ทำลาย แต่ทว่าต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งใกล้ตัวและไกลตัวอีกด้วย กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ทิศ 6 ของตน และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติด้วย 7.3 กรรมกิเลส 4 [245] กรรมกิเลส 4 ประการ ที่อริยสาวกละได้แล้ว มีอะไรบ้าง คือ 1. กรรมกิเลส คือปาณาติบาต 2. กรรมกิเลส คืออทินนาทาน 3. กรรมกิเลส คือกาเมสุมิจฉาจาร 4. กรรมกิเลส คือมุสาวาท กรรมกิเลส 4 ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว” อธิบายความ : กิเลสเป็นธาตุสกปรกชนิดหนึ่งสิงอยู่ในใจคนและสัตว์ตั้งแต่เกิด กิเลส นี้จะคอยบีบคั้นใจให้คนที่จิตใจอ่อนแอ ทำความชั่วความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นเสมอ ด้วยการบีบบังคับให้ผู้นั้นฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ประพฤติผิดในกามบ้าง และพูดเท็จบ้าง การที่ใครทำกรรมชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 4 ประการนี้ แสดงว่าใจของผู้นั้นตก อยู่ในอำนาจของกิเลสแล้ว จึงเรียกการกระทำทั้ง 4 ประการนี้ว่า กรรมกิเลส และตัวของ 254 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More