อริยสาวกและความไม่ลำเอียง GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 271
หน้าที่ 271 / 298

สรุปเนื้อหา

ส่วนอริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยมีหลัก 4 ประการ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ซึ่งทำให้เข้าใจความลำเอียงในสังคม การลำเอียงสะท้อนถึงปัญหาทางจริยธรรม และส่งผลให้ผู้คนเดือดร้อน ดังนั้น พระอริยสาวกต้องมีจิตสำนึกในการไม่ลำเอียง เพื่อความเป็นธรรมและความศักดิ์ศรีของมนุษย์.

หัวข้อประเด็น

-อริยสาวก
-ความไม่ลำเอียง
-หลักธรรมของการปฏิบัติ
-ปัจจัยที่ทำให้เกิดความลำเอียง
-ผลกระทบของความลำเอียงต่อสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ส่วนอริยสาวก 1. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ 2. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ 3. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ 4. ย่อมไม่ถึงภยาคติ อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ 4 ประการนี้ อธิบายความ : อคติ คือ ความลำเอียง ได้แก่ การกระทำ ที่เป็นเหตุให้ผู้ไม่ได้รับ ประโยชน์ กลับได้รับ ผู้ควรได้รับประโยชน์กลับไม่ได้รับ หรือผู้ควรได้รับน้อยกลับได้รับมาก ผู้ควรได้รับมากกลับได้รับน้อย 1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะรัก เป็นต้นเหตุให้เกิดการคอรัปชั่นในทุกระดับ สังคม 2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธ เป็นต้นเหตุให้เกิดการกลั่นแกล้งกันในสังคม 3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโง่เขลา เป็นต้นเหตุให้สังคมขาดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เหมือนไม้หลักปักเลน 4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัวภัยมาถึงตัว เป็นต้นเหตุให้เกิดอิทธิพลมืด คุกคามในสังคม พระอริยสาวกทั้งหลาย แม้จะต้องเผชิญกับความตาย ก็ไม่ลำเอียง เพราะตระหนัก ว่าการลำเอียงของท่าน ย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่น ยิ่งลำเอียงมาก ก็ยิ่งทำให้คนอื่นเดือดร้อนมาก เมื่อผู้นั้นเดือดร้อนมาก ก็ทำให้ เขาถูกกิเลสบีบคั้นใจได้ง่าย โอกาสที่ผู้ถูกลำเอียงจะทำกรรมกิเลส 4 แก่ผู้อื่นต่อๆ ไป หรือ เพื่อตอบโต้บุคคลที่ลำเอียงให้เกิดการจองเวรกัน ก็เกิดได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น มาตรฐานของคนดี ประการที่ 2 คือ คนดีต้องมีความสำนึกรับผิด ชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่นด้วยการไม่ลำเอียง 4 ประการ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคล นั้นย่อมเสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น 256 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More