หน้าที่ของคฤหัสถ์ในการปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 186
หน้าที่ 186 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นถึงหน้าที่ที่คฤหัสถ์ควรปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ ตามหลักอริยวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนด ซึ่งประกอบด้วยการกระทำ คำพูด และความคิดที่เต็มไปด้วยเมตตา รวมถึงการต้อนรับและการอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4 โดยเฉพาะอุปถัมภ์เป็นหน้าที่สำคัญของคฤหัสถ์เพื่อให้สงฆ์สามารถปฏิบัติธรรม และเป็นครูถ่ายทอดพระธรรมวินัย ซึ่งคฤหัสถ์จะได้รับบุญและอานิสงส์จากการปฏิบัติตนในลักษณะนี้ หรือการถวายสังฆทานและทานที่ดีจะมีผลบุญมากขึ้นตามลำดับ โดยอ้างอิงจากคำสอนในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-หน้าที่ของคฤหัสถ์
-การอุปถัมภ์สงฆ์
-ความสำคัญของปัจจัย 4
-เมตตาในชีวิตประจำวัน
-อานิสงส์จากการทำบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หน้าที่ของคฤหัสถ์ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของคฤหัสถ์คือตัวเราที่ต้องปฏิบัติต่อ พระภิกษุสงฆ์ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อทิศเบื้องบนของตน ให้ดูเป็นตัวอย่าง 5 ประการ ดังนี้ 1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา 2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา 3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา 4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4 หน้าที่สำคัญที่สุดของคฤหัสถ์ในการปฏิบัติต่อสงฆ์ คืออะไร หน้าที่สำคัญที่สุดของคฤหัสถ์ในการปฏิบัติต่อสงฆ์ ก็คือการอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ อันประกอบด้วย 1) จีวร (ผ้านุ่งห่ม) 2) บิณฑบาต (อาหาร) 3) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) 4) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค) สาเหตุที่ถือว่าการอุปถัมภ์สงฆ์เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของคฤหัสถ์ ก็เพราะถ้าขาดการอุปถัมภ์ จากคฤหัสถ์แล้ว สงฆ์ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในสมณเพศได้ เนื่องจากตามพุทธวินัยไม่อนุญาตให้สงฆ์ ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตดังเช่นคฤหัสถ์ แต่ทรงกำหนดให้สงฆ์ต้องศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อทำพระ นิพพานให้แจ้ง และมีหน้าที่เป็นครูถ่ายทอดพระธรรมวินัยให้แก่คฤหัสถ์ คือเป็นที่พึ่งทางธรรมให้แก่คฤหัสถ์ นั่นเอง ดังนั้นคฤหัสถ์ก็ต้องเป็นที่พึ่งในเรื่องปัจจัย 4 ให้แก่สงฆ์ คฤหัสถ์จะได้รับประโยชน์อะไรจากการอุปถัมภ์สงฆ์ ประโยชน์หรืออานิสงส์หรือบุญ อันเกิดจากการอุปถัมภ์สงฆ์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการทำบุญทำ ทานกับพระสงฆ์นั้นมีอยู่มากมาย แต่อานิสงส์ของการทำกุศลแต่ละครั้งแต่ละกรณี จะตกอยู่กับญาติโยม แต่ละคนมากหรือน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับความคิด และพฤติกรรมทางกาย วาจา ของญาติโยมแต่ละคน เช่น การถวายทานด้วยตนเอง ย่อมได้บุญมากกว่าการไหว้วานให้ผู้อื่นทำแทน การถวายสังฆทาน (ถวายโดย ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง) ย่อมได้บุญมากกว่า การถวายแบบปาฏิบุคคลิกทาน (ถวายเจาะจงบุคคล ไม่ใช่ถวายสงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง) การถวายวิหารทาน ย่อมได้บุญมากกว่าการถวายนิตยทาน (ทานที่ บุคคลถวายเจาะจงบรรพชิตผู้มีศีล) บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 171
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More