การเก็บรักษาทรัพย์สมบัติและพฤติกรรมการบริโภค GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 124
หน้าที่ 124 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงปัญหาที่เกิดจากการไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เช่น การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายและการตั้งบุคคลทุศีลขึ้นมาเป็นใหญ่ในเรือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเก็บรักษาทรัพย์สมบัติของครอบครัว การดูแลทรัพย์สินโดยบุคคลที่ไม่มีความรับผิดชอบอาจทำให้ทรัพย์สินสูญหายหรือเสื่อมโทรมไป จากนั้นเสนอวิธีเก็บรักษาทรัพย์สมบัติผ่านการบริจาคเป็นทานและการทำบุญ เพื่อให้ทรัพย์นั้นมีความยั่งยืนทั้งในชีวิตนี้และในชีวิตหน้า.

หัวข้อประเด็น

-พฤติกรรมการบริโภค
-การตั้งบุคคลทุศีล
-การเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ
-การทำบุญและการบริจาค
-ความยั่งยืนในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอย 4. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน สำหรับพฤติกรรม 2 ประการแรก ย่อมชี้ชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นพฤติกรรมของคนไม่รู้จักเก็บ ส่วนประการที่ 3 ผู้ที่ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมเป็นเหตุให้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย อันจะเป็นผลให้ไม่มี เงินทองเหลือเก็บ หรือบางรายอาจต้องเป็นหนี้เป็นสินก็มี ดังนั้นใครก็ตามที่ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ “เก็บเป็น” หรือเป็นผู้ “เก็บไม่เป็น” นั่นเอง สำหรับประการที่ 4 ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นใหญ่ในเรือน ถ้ามองในแง่ของการเก็บรักษา ทรัพย์สมบัติ บ้านเรือนใดหรือครอบครัวใดที่ตั้งบุคคลขึ้นมาเป็นใหญ่ในเรือนในครอบครัว ในบริษัทเพื่อ ดูแลทรัพย์สมบัติ ย่อมแสดงว่าบ้านเรือนนั้นหรือครอบครัวนั้นมีทรัพย์สมบัติมาก ผู้เป็นเจ้าของอาจเป็น นักธุรกิจ หรือผู้ประกอบการใหญ่ ถ้าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สมบัติเป็นคนทุศีล แทนที่เขาจะเก็บรักษา ทรัพย์สมบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเขากลับจะเป็นผู้ทำลายทรัพย์สมบัตินั้นเสียเองด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้จ่ายทรัพย์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในครอบครัวอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายเกินจำเป็น ยักยอกทรัพย์ สมบัติ บางส่วนไปเป็นของตน ยักยอกทรัพย์ สมบัติบางส่วนไปใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับอบายมุข การกระทำเหล่านี้ ย่อมทำให้ทรัพย์สมบัติของครอบครัวร่อยหรอลงเรื่อยๆ ไม่ช้าไม่นานก็อาจจะถึงกับหมดสิ้นไป เหลือไว้แต่ ตัวเลขในบัญชี แต่ไม่มีทรัพย์สินจริง ดังนั้น ใครก็ตามที่แต่งตั้งคนทุศีลให้ดูแลรับผิดชอบเรื่อง ทรัพย์สินของครอบครัว ย่อม เท่ากับแต่งตั้งคนตาเดียวขึ้นมาล้างผลาญตนนั่นเอง ทรัพย์สินที่ตนหามาได้เท่าใด ย่อมไม่พ้นอันตราย สาระสำคัญของการ “เก็บเป็น” ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจสรุปได้ว่า การเก็บรักษาทรัพย์ สมบัติที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรและชอบธรรมนั้น มีอยู่ 2 วิธี คือ เก็บเป็นทรัพย์หยาบ และ เก็บเป็นทรัพย์ละเอียด การเก็บเป็นทรัพย์หยาบ แม้จะมีวิธีเก็บอย่างชาญฉลาดแยบยลเพียงใดก็ยังไม่พ้นอันตรายอยู่ นั่นเอง และที่น่าตกใจก็คือ ถ้าเจ้าของหมดบุญทรัพย์นั้นก็จะอันตรธานไปโดยปริยาย การเก็บเป็นทรัพย์ละเอียด คือการเปลี่ยนทรัพย์นั้นให้เป็นบุญ ด้วยการนำไปบริจาคเป็นทาน แก่เนื้อนาบุญ คือพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง กับนำไป อุปถัมภ์ค้ำชูบุพการี พี่น้อง ญาติมิตร ตลอดจนผู้คนที่ควรได้รับการสงเคราะห์ อีกส่วนหนึ่ง บุญอันเกิดจากการเก็บเป็นทรัพย์ละเอียดนี้ นอกจากตัวของมันเองจะพ้นอันตราย เนื่องจาก ไม่มีใครสามารถลักขโมยไปได้แล้ว ยังจะสามารถคุ้มครองชีวิตของเราให้พ้นอันตรายทั้งในโลกนี้และโลก หน้าอีกด้วย บทที่ 3 ค ว า ม ยั่งยืน แห่ง คุณสมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 109
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More