ข้อความต้นฉบับในหน้า
ที่ยกมาแสดงนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในการจัดทำหลักสูตรและสาระการเรียนการสอน ย่อม
ขึ้นอยู่กับครูอาจารย์ ผู้รับผิดชอบ แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่า การสอนธรรมะทุกบททุกเรื่อง ผู้เรียนจำเป็นต้อง
ได้เรียนรู้ และเข้าใจความสัมพันธ์โยงใยกันระหว่างหมวดธรรมต่างๆ เพื่อให้ได้เกิดความเข้าใจถูกต้อง
ลึกซึ้ง และมองเห็นประโยชน์เมื่อนำไปปฏิบัติจริง
ผู้ที่จะต่อภาพ Jigsaw นั้น ลำพังแต่มีตัว Jigsaw อย่างเดียว โดยไม่มีภาพของ Jigsaw ที่
นำมาต่อกันสมบูรณ์แล้วมาเป็นแบบให้ดู เขาย่อมไม่สนใจที่จะต่อภาพ เพราะไม่รู้ว่าจะต่อให้เป็นภาพอะไร
และถึงแม้จะพยายามต่อ ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จเลย
ในทำนองเดียวกัน ผู้เรียนธรรมะแต่ละหมวดๆ โดยเอกเทศ โดยไม่เห็นความเชื่อมโยง
ระหว่างธรรมะแต่ละหมวด และความเชื่อมโยงระหว่างธรรมะกับการดำเนินชีวิต เขาก็จะมองไม่ออกว่า
ธรรมะแต่ละหมวดจะมีประโยชน์อย่างไร ต่อการดำเนินชีวิตของเขา เขาจึงไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ถ้าจำเป็นต้องเรียนก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจอะไรนัก เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็ทิ้งความรู้ไว้ในตำรา
ไม่ช้าไม่นานก็ลืมเลือนไปหมด
เพราะเหตุนี้ การทำให้ผู้เรียนเห็นภาพความเชื่อมโยงระหว่างธรรมะแม่บทที่ตนได้เรียนแล้ว
และระหว่างธรรมะกับการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน จึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญและยิ่งใหญ่ ของครูอาจารย์ทุก
ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูอาจารย์ที่รับผิดชอบในเรื่องการเรียนการสอนวิชาศีลธรรม
การเรียนการสอนภาคทฤษฎีควรดำเนินการอย่างไร
การเรียนการสอนภาคทฤษฎี ควรดำเนินการแบบแบ่งกลุ่มอภิปราย มิใช่แบ่งกลุ่มรายงาน กล่าว
คือ การเรียนการสอนธรรมะในแต่ละชั้นแต่ละเทอม ครูอาจารย์ผู้สอนควรนำหัวข้อธรรมทั้งหมดที่กำหนด
ไว้ในหลักสูตรของแต่ละเทอม มาแบ่งให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม (ประมาณกลุ่มละ 3 - 5 คน) ครั้น
เมื่อถึงกำหนดอภิปราย แทนที่สมาชิกของแต่ละกลุ่มจะออกมาพูด หรืออ่านรายงานเนื้อหาสาระที่ตนไป
ศึกษาค้นคว้ามา ก็จะต้องไม่ทำเช่นนั้น แต่จะต้องให้สมาชิกในกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่กันเป็นผู้ถามและตอบ
ปัญหา ซึ่งอยู่ในกรอบของเนื้อหาสาระแห่งธรรมะ ที่กลุ่มของตนไปศึกษาค้นคว้ามา และเตรียมซักถาม ตอบ
กันมาอย่างดีแล้ว
นอกจากนี้ ถ้านักเรียนกลุ่มอื่นซึ่งนั่งฟังการอภิปรายอยู่ มีปัญหาสงสัยหรือไม่เห็นด้วย ก็ต้อง
เปิดโอกาสให้ซักถาม หรือคัดค้านได้ แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดด้วย
เมื่อแต่ละกลุ่มจบการอภิปราย ครูอาจารย์ผู้รับผิดชอบจะต้องสรุปประเด็น ซึ่งเป็นสาระ
สำคัญของธรรมะแต่ละหมวดให้ชัดเจน และถ้าผู้อภิปรายมีความเข้าใจผิดตรงแง่มุมใด ก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
เพื่อป้องกันมิให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ผิดๆ
142 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก