ข้อความต้นฉบับในหน้า
คนที่มีน้ำใจเป็นกัลยาณมิตรนั่นเอง ที่ชอบการบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ทั้งนี้เพราะผู้ที่มีน้ำใจ
เป็นกัลยาณมิตรนั้นย่อม
1) มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองเห็นว่าถ้าสามารถสร้างชุมชน ให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยเครือข่ายคน
ดี ความเจริญรุ่งเรืองนั้นก็จะตกมาถึงตนโดยปริยาย
2) เห็นว่าชุมชนใดที่เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจและจิตใจควบคู่กันไป ชุมชนนั้นย่อมเป็น
ชุมชนเข้มแข็ง ไม่มีปัญหาโจรผู้ร้าย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาอบายมุข ปัญหาเยาวชน หรือถ้ามีก็มีน้อย
สามารถแก้ไขได้ง่าย
3) เห็นว่า เมื่อชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศเข้มแข็งแล้ว ย่อมเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ใน
การยืนหยัดต่อสู้ป้องกันรักษาอธิปไตยของชาติ ในสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เอารัดเอา
เปรียบกันตลอดเวลา
4) เห็นว่าชุมชนเข้มแข็งได้ ก็เพราะสมาชิกในชุมชนโดย ทั่วไป เป็นคนดี มีสัมมาทิฏฐิ ตั้งใจ
สร้างแต่กรรมดี ละเว้นบาปอกุศลต่างๆ วัฒนธรรมทางจิตใจอันดีงามนี้ ย่อมเป็นมรดกตกทอดจากชนรุ่น
หนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง สภาวการณ์เช่นนี้เอง ที่จะอนุรักษ์ความเป็นชาติของเราให้จีรังยั่งยืนตลอดไป
5) เห็นว่าถ้าผู้คนในชุมชน ในสังคม ล้วนมีน้ำใจเป็นกัลยาณมิตร มิจฉาทิฏฐิชน ที่มีความตระหนี่
เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ชอบทำนาบนหลังคน เอารัดเอาเปรียบคนจนด้วยเล่ห์กลต่างๆ เป็นคนมีสภาพขัดสน
ยากจนด้านจิตใจ เพราะมีเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ จะหมดไปจากสังคม และบ้านเมืองโดยปริยาย
เพราะเหตุผล 5 ประการเป็นอย่างน้อยนี้เอง ผู้มีน้ำใจเป็นกัลยาณมิตรจึงชอบการบำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อกันเป็นชีวิตจิตใจ ดังนั้นผู้รักการบำเพ็ญอัตถจริยาจึงเป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ และ ถ้าจะ
วิเคราะห์ให้ลึกซึ้งถึงก้นบึงจิตใจของเขาแต่ละคน ก็จะได้พบว่าเขาเป็นบุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ
อย่างมั่นคงถาวรนั่นเอง
5.4.4 ความวางตนสม่ำเสมอ (สมานัตตตา)
ความวางตนสม่ำเสมอ หมายถึงอะไร
จุดมุ่งหมายของความวางตนสม่ำเสมอ ก็คือการทำตัวให้เป็นคนน่ารัก ดังนั้น ความวางตน
สม่ำเสมอในบริบทนี้ จึงมีความหมายได้หลายอย่าง ที่สำคัญคือ
1) ทําตนเสมอต้นเสมอปลาย
2) วางตนเหมาะสมแก่ฐานะ ภาวะ บุคคลและสถานการณ์
บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 197