ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.2.1 วัยเด็ก
จะเริ่มจากวัยทารกจนกระทั่งจบการศึกษาและพร้อมที่จะออกไปประกอบอาชีพ
ในวัยเด็กนี้ กิเลสที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเป็นอันดับแรก ก็คือ กิเลสตระกูลโทสะ ซึ่งทารก
แสดงออกอย่างรุนแรง ด้วยการส่งเสียงร้องแบบไม่คิดชีวิต
ครั้นเมื่อทารกเจริญวัยขึ้น รู้เดียงสาขึ้น ก็จะแสดงกิเลสตระกูลโลภะ ออกมาให้เห็นเนืองๆ ด้วย
การแย่งของเล่น แย่งขนมหรือแย่งของถูกใจที่ตนไม่มี จากเพื่อน จากคนอื่น ถ้าแย่งไม่ได้ก็จะร้องไห้อย่าง
บันดาลโทสะ หรือมิฉะนั้นก็เข้าทุบตีเพื่อน ถ้าทำได้ ขณะเดียวกันก็จะหวงแหนสิ่งของของตน โดยไม่ยอม
หยิบยื่นแบ่งปันให้ใครๆ แม้แต่พ่อแม่หรือผู้ที่ให้สิ่งของนั้นๆ แก่ตน ดังที่ผู้ใหญ่มักจะพูดกันติดปากว่า เด็ก
คนนั้นเด็กคนนี้ “ลูก” ตั้งแต่เล็กๆ นี่คือพฤติกรรมของกิเลสตระกูลโลภะที่อยู่ในใจเด็กๆ นั่นเอง
ครั้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้นอีก ก็จะแสดงกิเลสตระกูลโมหะออกมา ด้วยการรังแกเพื่อนเล่น รังแก
สัตว์ต่างๆ ด้วยความสนุกสนาน เช่น จับแมวหรือสุนัขตัวเล็กๆ โยนสระน้ำ ใช้ไม้เรียวตีหรือใช้แส้หวด
จิ้งจกตามผนังห้องให้ตาย หรือมิฉะนั้นก็จะตีจิ้งจกให้หางขาดแล้วปล่อยไป แล้วมองดูหางจิ้งจกส่วนที่
ขาดออกมานั้นดิ้นกระแด่วๆ เหมือนยังมีชีวิตอยู่ด้วยความสนุกสนาน ยิ่งมีหลายหางก็ยิ่งสนุกมากขึ้น เป็นต้น
อะไรเป็นสิ่งผลักดันให้เด็กๆ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักเหล่านั้นออกมา กิเลส 3 ตระกูลที่
แอบแฝงอยู่ในใจของเด็กตั้งแต่ก่อนเกิดนั่นเอง
บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 183