การปลูกฝังคุณสมบัติคนดี GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 152
หน้าที่ 152 / 298

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปลูกฝังคุณสมบัติของคนดี โดยเน้นการสอนและเป็นแบบอย่างจากผู้ปกครองถึงบุตรธิดา การถ่ายทอดสาระการดำเนินชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงสุราเมรัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรรมชั่วในอนาคต และการปลูกฝังนิสัยด้านคุณธรรมผ่านการปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถสร้างนิสัยการทำกรรมดีให้เกิดขึ้น โดยหลักการของการปลูกฝังนั้นควรยึดกิจกรรมประจำวันเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังคุณสมบัติคนดี
-บทบาทของพ่อแม่ในครอบครัว
-การปฏิบัติสมควรแก่ธรรม
-นิสัยการทำกรรมดี
-วิธีการปลูกฝังคุณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เช่นถ้าได้ฟังคำสอนว่า ผู้ที่เกิดมาเป็นคนปัญญาอ่อน ก็เพราะเศษกรรมอย่างน้อยที่สุดของการดื่มสุรา เมรัยในอดีตชาติ และได้พ้นจากวิบากกรรมอันทุกข์ทรมานสุดแสนสาหัสในมหานรกมาแล้ว เมื่อเด็กเกิด ความเข้าใจและยอมรับคำสอนนี้แล้ว ข้อสรุปของเด็กที่จะยึดไว้เป็นหลักต่อไป (หรือตลอดไป) ก็คือ ตนเอง ต้องไม่แตะต้องสุราเมรัยเลย นี่คือตัวอย่างของการปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ผลสรุปจากวุฒิธรรม จากธรรม 4 ประการที่ยกมากล่าวนี้ ย่อมได้ข้อสรุปว่า หลักการพัฒนา คุณสมบัติแห่งความเป็น “บัณฑิต” ของพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลาย ต้องมี ความพร้อมในการทำหน้าที่ถ่ายทอด และเป็นต้นแบบในด้านคุณธรรม และศีลธรรมอย่างสมบูรณ์แบบ ของบุตรธิดา จึงจะทำให้หน่อเนื้อเชื้อไขของท่านมีความรัก เคารพเชื่อฟังท่านด้วยใจจริง เพราะได้ ไตร่ตรองคำสั่งสอนของท่านแล้วด้วยเหตุผล จนได้ข้อสรุปด้วยตนเองแล้ว จึงยินดีและเต็มใจยึดไว้เป็น หลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ด้วยศรัทธามั่นคงไม่คลอนแคลน ถ้าพ่อแม่ในทุกครอบครัวเป็น “บัณฑิต” ตามแนวดังกล่าวนี้อย่างแท้จริง (ไม่ใช่บัณฑิตตาม การเรียกขานในสังคม เพราะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี) ปัญหาขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกๆ ระหว่าง ลูกๆ ด้วยกัน ซึ่งจะลุกลามเลยไปเป็นปัญหาสังคม และชาติบ้านเมืองต่อไป ย่อมยากที่จะเกิดขึ้นจริงๆ 4.1.3 แบบแผนในการปลูกฝังคุณสมบัติของคนดี การปลูกฝังคุณสมบัติของคนดีควรมีแบบแผนอย่างไร แบบแผนในการปลูกฝังคุณสมบัติของคนดีควรจัดทำใน 2 ลักษณะ คือ 1) การปลูกฝังภาคปฏิบัติ 2) การปลูกฝังภาคทฤษฎี 1) การปลูกฝังภาคปฏิบัติ การปลูกฝังภาคปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์อย่างไร วัตถุประสงค์สำคัญของการปลูกฝังภาคปฏิบัติ คือ การสร้างลักษณะนิสัยให้คุ้นกับการทำกรรมดี เมื่อบุคคลมีนิสัยคุ้นกับกรรมดีมาตั้งแต่เด็ก ย่อมหวังได้ว่าเขาจะไม่ประมาทพลาดพลั้งหลงไปทำกรรมชั่วเลย เนื่องจากมีหิริโอตตัปปะ คอยตักเตือน ป้องกันมิให้เขาก้าวล่วงไปสู่กรรมชั่ว นิสัยรักการทำกรรมดีในรูป แบบต่างๆ มีทาน ศีล ภาวนาเป็นสำคัญ ในที่สุดก็จะพัฒนาเป็นสัมมาทิฏฐิประจำใจบุคคลไปตลอดชีวิต การปลูกฝังภาคปฏิบัติควรมีหลักการอย่างไร หลักการหรือแนวคิดสำคัญในการปลูกฝังภาคปฏิบัติ คือจะต้องยึดการทำกิจกรรมต่างๆ ใน ชีวิตประจำวันหลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวันซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริโภค ปัจจัย 4 กิจกรรม บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 137
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More