ภูมิคุ้มกันจิตใจและมิจฉาทิฏฐิ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 21
หน้าที่ 21 / 298

สรุปเนื้อหา

ภูมิคุ้มกันจิตใจ คือ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งถูกเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ การขาดภูมิคุ้มกันจะนำไปสู่มิจฉาทิฏฐิซึ่งก่อผลกระทบในด้านลบต่อบุคคลและสังคม มิจฉาทิฏฐิจึงต้องถูกกำจัดหรือปฏิรูปให้กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิเพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในโลก การมีความเข้าใจผิดทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมและอาจนำไปสู่นรกตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้น การแก้ไขความเข้าใจผิดนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเร่งด่วน

หัวข้อประเด็น

-ภูมิคุ้มกันจิตใจ
-มิจฉาทิฏฐิ
-สัมมาทิฏฐิ
-ผลกระทบต่อสังคม
-การปฏิรูปมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภูมิคุ้มกันจิตใจ คืออะไร ภูมิคุ้มกันจิตใจ คือ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามความ เป็นจริง ซึ่งมีศัพท์ทางธรรมว่า สัมมาทิฏฐิ บุคคลที่ขาดหรือหย่อนภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ก็เพราะขาดความ เข้าใจถูกต้องหรือมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งมีศัพท์ ทางธรรมว่า มิจฉาทิฏฐิ บรรดามิจฉาทิฏฐิชนนี้เอง ต่างมีพฤติกรรมผิดศีล ผิดธรรม ก่อความเดือดร้อนและความ สับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมทั่วโลก ดังนั้น การกำจัดมิจฉาทิฏฐิออกจากจิตใจผู้คน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่ง ด่วนอย่างยิ่ง นั่นเอง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญของการปฏิรูปมนุษย์ก็คือ การปฏิรูปมิจฉาทิฏฐิให้เป็นสัมมาทิฏฐิ 1.2 โทษของมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีโทษร้ายแรงอย่างไร จึงต้องปฏิรูป ความเข้าใจผิดอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้น มีโทษร้ายแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสังคมโลก สุดจะนับจะประมาณ สำหรับโทษต่อตนเองนั้นมีโทษหนักถึงกับต้องตกนรกกันเลยทีเดียว ดังที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มิจฉาทิฏฐิสูตร ว่า “บุคคลในโลกนี้ตั้งจิตไว้ผิด กล่าววาจาผิด ทำการงานทางกายผิด มีความขวนขวายน้อย (ไม่ทำประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น) ทำกรรมอันไม่เป็น บุญไว้ในชีวิตอันน้อยในโลกนี้ เขามีปัญญาทราม หลังจากตายแล้ว จะไปเกิด ในนรก” สำหรับโทษต่อผู้อื่นและสังคมโลกนั้น มิจฉาทิฏฐิชนจะพยายามชักชวนผู้คนให้เข้ามาเป็น สมัครพรรคพวกหรือเครือข่าย ของตนอยู่เสมอ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายก็คือ ในวงการพนัน หรือ วงเหล้า คน ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ครั้นได้สนทนาปราศรัยกันเพียงเล็กน้อย ก็ร่วมวงเล่นการพนันกันได้ หรือร่วม วงดื่มสุราฮาเฮกันได้ เพียงแต่ได้ร่วมวงทำกิจกรรมเกี่ยวกับอบายมุขเพียงครั้งเดียว มิจฉาทิฏฐิชนก็ สามารถผูกมิตรสนิทสนมกันได้ ยิ่งมีผลประโยชน์เป็นที่คาดหวังด้วยแล้ว เครือข่ายของมิจฉาทิฏฐิก็ขยาย ขุ. อิติ. มจร. 25/70/428 6 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More