ปัจจัย 4 และผลกระทบของความเกียจคร้าน GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 94
หน้าที่ 94 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัย 4 ในการทำงาน เพื่อเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนทรัพย์สินและส่งเสริมการทำบุญ และความสำคัญของการทำงานในสังคม โดยเฉพาะประเด็นความเกียจคร้านในการทำมาหากินซึ่งส่งผลเสียต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและศีลธรรมของสังคม นอกจากนี้ยังอธิบายพฤติกรรมของคนเกียจคร้านที่เป็นอุปสรรคในการทำงานและส่งผลต่อด้านจิตใจและการกระทำข้างใน รวมถึงโทษของอบายมุขที่เกี่ยวข้องกับความเกียจคร้าน

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัย 4
-ความเกียจคร้านในการทำงาน
-ผลกระทบต่อศีลธรรม
-เศรษฐกิจในสังคม
-พฤติกรรมของคนเกียจคร้าน
-โทษของอบายมุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปัจจัย 4 การทำงานประกอบอาชีพ ก็เพื่อหาทรัพย์สินมาเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนปัจจัย 4 เพื่อสงเคราะห์ ญาติมิตรเพื่อนฝูง ตลอดจนเพื่อบริจาคเป็นทาน กุศล สั่งสมบุญไว้ในภพเบื้องหน้าต่อไป คนที่เกียจคร้านในการทำงาน หรือทำงานคั่งค้าง เกียจคร้านในการทำมาหากิน ปล่อยให้ เวลาล่วงไปๆ โดยเปล่าประโยชน์ ถือว่าเป็นคนที่ตายแล้วทางด้านความคิดและความดี คนบางคนเกียจคร้านในการทำมาหากิน ทั้งๆ ที่ยากจน ย่อมหาวิธีเอาตัวรอดด้วยการเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยการทำตัวเป็นกาฝากของสังคม ด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อม และ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ได้ทรัพย์มาใช้จ่าย ส่วนบางคนที่มีมรดกมากมายจึงเกียจคร้านในการทำงาน ย่อมจะปล่อยให้เวลาล่วงไปกับ อบายมุขต่างๆ เหล่านี้คือที่มาแห่งความเสื่อมโทรมด้านศีลธรรมในสังคม และศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ด้วย เหตุนี้ความเกียจคร้านในการทำงาน จึงเป็นทางแห่งความฉิบหายอย่างหนึ่งของคนเรา บุคคลที่ชื่อว่าเกียจคร้านในการทำงาน มีพฤติกรรม อย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแสดงนิสัยและพฤติกรรมของคนเกียจคร้านไว้ให้ดู พอเป็นตัวอย่าง 6 ประการด้วยกัน คือ 6.1) มักอ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน 6.2) มักอ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน 6.3) มักอ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทํางาน 6.4) มักอ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน 6.5) มักอ้างว่าหัวค่ำนัก แล้วไม่ทำงาน 6.6) มักอ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำงาน ใครก็ตามที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ยกข้ออ้างต่างๆ ในทำนองเดียวกันนี้ แล้วไม่ทำงาน ก็ย่อม แสดงได้อย่างชัดเจนว่า เป็นคนที่มีนิสัยเกียจคร้าน เป็นคนเอาดีไม่ได้ จึงไม่ใช่คนดี จากเรื่องโทษของอบายมุขทั้ง 6 ประเภทใหญ่ ที่กล่าวมานี้ นักศึกษาคงจะพบคำตอบด้วย ตนเองแล้วว่า ทำไมอบายมุขจึงชื่อว่าเป็นทางแห่งความฉิบหาย บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิฝังแน่นอยู่ในใจ ย่อม ตระหนักถึงโทษภัยร้ายแรงของอบายมุขเป็น อย่างดี จึงเว้นขาดจากอบายมุขทั้งปวง จะมีก็แต่เหล่ามิจฉา ทิฏฐิชนเท่านั้น ที่พอใจเกลือกกลั้วอยู่กับอบายมุข เฉกเช่น แมลงเม่าที่ชอบบินเข้ากองไฟ ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า บุคคลที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง ย่อมมีความ สำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรม ทางเศรษฐกิจ นี่คือความรับผิดชอบประการที่ 3 ของคนดีที่โลกต้องการ บ ท ที่ 2 คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง ค น ดี ที่โลกต้องการ DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More