ความหมายและความสำคัญของกฎแห่งกรรม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 42
หน้าที่ 42 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม โดยแบ่งแยกระหว่างความเชื่อที่ถูกต้องและผิด เรื่องของกรรมดีและกรรมชั่วนั้นสัมพันธ์กับสภาพใจของบุคคล ซึ่งผู้ที่มีจิตใจที่เข้าใจถึงกฎแห่งกรรม จะสามารถพิจารณาแยกระหว่างกรรมดีและกรรมชั่วได้อย่างถูกต้อง ขณะที่ผู้ที่มีอคติอาจไม่สามารถเห็นความจริงได้ ชีวิตที่มีความเข้าใจในธรรมจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีและมีความสุข ขณะที่การไม่เห็นกฎหมายแห่งกรรมอาจนำไปสู่ความทุกข์และโทษในท้ายแทน

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรมและผลของกรรม
-สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ
-สภาพใจและความรับผิดชอบทางธรรม
-การพิจารณาไตร่ตรองกรรมดีกรรมชั่ว
-ความหมายของโลกในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ใครก็ตามที่ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ก็เพราะเขาเห็นว่าผลคือวิบากของกรรมดีกรรมชั่วไม่มีจริง ความ เห็นผิดของเขาจัดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” ในทางตรงข้าม ใครก็ตามที่เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม ก็เพราะเขาเห็น ว่าผล คือวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง ความเห็นถูกของเขาจัดเป็น “สัมมาทิฏฐิ” สรุป สาระสำคัญเกี่ยวกับวิบากแห่งกรรมดีและกรรมชั่วของบุคคลก็คือ ความเห็นที่ว่า “กฎแห่งกรรม มีจริง” นั้น เป็นสภาพใจของคนที่กอปรด้วย “อุเบกขาจิต” อุเบกขาในบริบทนี้มิได้หมายถึงการวางเฉยแบบ ตอไม้ แต่ทว่าเป็นการวางเฉยของใจ ที่ประกอบด้วยปัญญา สามารถพิจารณาไตร่ตรองด้วย สติ สัมปชัญญะ สามารถแยกระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่วออกจากกันได้อย่างถูกต้องสามารถตรองอย่างลึกซึ้งได้ด้วยเหตุผลว่า เหตุแห่งการทำกรรมดีนั้น เริ่มต้นด้วยใจที่เป็นกุศล อันได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ดังนั้นผล ปลายทางที่จะเกิดขึ้น ย่อมเป็นผลดี และให้ความสุขอย่างแน่นอน ส่วนเหตุแห่งการทำกรรมชั่วนั้น เริ่มต้นด้วยใจที่เป็นอกุศล อันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ดังนั้น ผลปลายทางที่จะเกิดขึ้น ย่อมมีทุกข์และโทษอย่างแน่นอน ใจคนประเภทนี้สามารถรู้เท่าทันว่า ผลของ กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เกิดขึ้นแล้วนั้นเป็นธรรมโดยธรรมชาติที่ควรจะเป็นไม่ใช่เรื่องฝืนธรรมชาติแต่ประการใด ตนเอง สภาพใจที่ละเอียด สามารถพิจารณาไตร่ตรองวิบากแห่งกรรมดีและกรรมชั่วของบุคคลได้ อย่างถูกต้อง ย่อมทำให้เป็นบุคคลที่ถือธรรมเป็นใหญ่ รับผิดชอบธรรมะด้วยการพยายามเคี่ยวเข็ญ และผู้อื่นให้ประพฤติธรรม มีจิตใจปราศจากอคติใดๆ ทั้งสิ้น บุคคลที่สภาพใจกอปรด้วย “อุเบกขาจิต” เช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นถูกเป็น “สัมมาทิฏฐิ” ในทางกลับกัน บุคคลที่มีใจมืดมิดด้วยอำนาจกิเลส ย่อมแยกไม่ออกระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว เพราะใจมีอคติ แม้ตนเองหรือพรรคพวกของตนก่อกรรมชั่ว ก็ยังคิดเข้าข้างว่าเป็นกรรมดี เขาจึงทำกรรม ชั่วอยู่เป็นนิจ โดยไม่สนใจหรือไม่เชื่อกฎแห่งกรรม บุคคลที่มีอคติไม่ถือธรรมเป็นใหญ่เช่นนี้ ชื่อว่า มีความ เห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ” ไม่รับผิดชอบความเป็นธรรมในสังคม 1.3.5 ความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “โลกนี้” โลก หมายถึงอะไร 3 ชนิด คือ คำว่า “โลก” ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งที่ทรุดโทรมย่อยยับ สูญสลายได้ แบ่งออกเป็น 1) สังขารโลก หมายถึง สังขารร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลายอันประกอบด้วย กายกับใจ บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์ DOU 27
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More