การเจรจาไพเราะและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 210
หน้าที่ 210 / 298

สรุปเนื้อหา

การเจรจาไพเราะถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตที่ช่วยให้เราเป็นที่รักและไม่เป็นที่เกลียดชัง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การใช้วาจาดีมีประโยชน์ และการใช้วาจาช่วยทำให้เกิดเดือดร้อนได้ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันคือการให้ความช่วยเหลือด้วยการพูดและการกระทำที่เป็นประโยชน์ ในการช่วยเหลือญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อให้แต่ละคนได้มีความรู้และความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้ทุกคนในสังคมมีความสุขและสงบสุข การบำเพ็ญประโยชน์สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การให้การอบรมฟรี การฝึกอบรม หรือการจัดโครงการช่วยเหลือที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของปิยวาจา
-การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน
-การช่วยเหลือในสังคม
-การอบรมและการศึกษา
-การสร้างความรู้และความสามารถ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สำหรับเรื่องการเจรจาไพเราะหรือปิยวาจานี้ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่งในชีวิตของ คนเรา เพราะถ้าเรามีปิยวาจาก็จะทำให้เราเป็นคนน่ารัก ไม่เป็นที่จงเกลียดจงชังของ ใครๆ ย่อมประสบ ความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้ ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน สารัมภ์ชาดก 1 ว่า “การเปล่งวาจาดีสำเร็จประโยชน์ได้ เปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน” 5.4.3 การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน (อัตถจริยา) การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน หมายถึงอะไร การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันในบริบทนี้ หมายถึงการชี้แนะ ด้วยการพูดและการกระทำที่เป็น ประโยชน์ และก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ทั้งนี้เพราะบุคคลบางคนมิได้ขาดแคลนทรัพย์สินสิ่งของ จึง มิได้หวังปิยวาจา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ตน แต่ประการใด ทว่าเขาขาดแคลนความรู้ ความ สามารถในการกระทำกิจกรรม หรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้องการคำแนะนำที่จะช่วยให้เขา สามารถทำกิจนั้นๆ ได้สำเร็จ หรือถ้าจะลงมือสาธิตให้เขาดูเป็นตัวอย่างก็จะยิ่งดี เป็นต้น ดังนั้นการช่วยเหลือญาติพี่น้อง ผู้คนในชุมชน สังคม และประเทศชาติ ไม่ว่าผู้ดีมีจน ให้มี ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการทำกิจต่างๆ การประกอบอาชีพต่างๆ ตลอดจนการดูแลสุขภาพ กายและใจของตนเอง เพื่อความอยู่ดีมีสุขของทุกๆ คน และเพื่อให้ผู้คนในสังคมมีมาตรฐานการครองชีวิต อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีความสงบสุข เราก็ควรจะร่วมมือช่วยกันทำ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันมีรูปแบบการดำเนินการอย่างไร การบำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน อาจจะดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม ไม่มี กฎเกณฑ์ตายตัว แต่มีสาระสำคัญอยู่ที่กิจกรรมทุกอย่างที่บำเพ็ญแล้วนั้นต้องเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเอกชนคนใดประกอบอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จึงปรารถนาให้ผู้ที่ยังไม่มีอาชีพหรือยังไม่ร่ำรวย เข้ามาศึกษาฝึกอบรมปฏิบัติงานในอาณาบริเวณพื้นที่ของตน โดยไม่คิดค่าฝึกอบรมใดๆ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ของเอกชนผู้นั้น บริษัท หรือองค์กรใด เมื่อจะจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นความรู้ สมัยใหม่ให้แก่พนักงานในบริษัทหรือองค์กรของตน ก็ควรเชื้อเชิญประชาชนผู้สนใจจำนวนหนึ่งเข้าร่วม สัมมนาฟรี หรือเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อย่างนี้ก็ถือเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ของบริษัท หรือ องค์กรนั้นๆ 1 หรือองค์กรการกุศล ซึ่งอาจเป็นมูลนิธิต่างๆ จัดโครงการ ฝึกอบรมระยะสั้น 1 วัน หรือ 2 วัน ขุ. ชา. มก. 56/88/310 บทที่ 5 กุญแจไข ความสำเร็จของทิศ 6 DOU 195
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More