ข้อความต้นฉบับในหน้า
เดียวกันก็พูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์ ถูกกาลเทศะ ไม่พูดในทำนองเขาเล่าว่า หรือปล่อย
ข่าวลือ เพราะนอกจากจะไม่เป็นความจริงแล้ว ยังอาจจะก่อให้เกิดโทษอีกด้วย
3) กรรมดีทางใจ ได้แก่ความคิดที่สุจริตอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการพูด และการกระทำที่สุจริต
แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
3.1) ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น (อนภิชฌา) คือไม่มักได้ ไม่คิดโลภด้วยการ
แย่งชิงผลประโยชน์จากผู้อื่นอย่างไร้ความเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็ถือสันโดษ คือ พอใจ
ในสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้
3.2) ความไม่คิดพยาบาทจองเวรผู้ใด (อพยาบาท) แต่มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และคิดให้
อภัยอยู่เสมอ
3.3) มีความเห็นหรือความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามที่เป็นจริง
(สัมมาทิฏฐิ) ด้วยการศึกษาและปฏิบัติธรรม
“กุศลกรรมบถ 10” นี้ ถือได้ว่าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน “กรรมดี” ที่มีรายละเอียดอย่างชัดเจน
ทำอย่างไรคนเราจึงจะสามารถตั้งมั่นอยู่ในเกณฑ์แห่งกรรมดี 10 ประการนี้อย่างสม่ำเสมอ
เหตุปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้คนเราตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 อยู่เสมอ นอกจาก
การได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิจนเกิดเป็นนิสัย ตั้งแต่เยาว์วัยจากครอบครัว จากสถาบันการศึกษาแล้ว
เมื่อโตขึ้นก็จะต้องใส่ใจศึกษา และปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันมิให้ขาด ทั้งต้องไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข
อย่างเด็ดขาดอีกด้วย
อบายมุข คืออะไร
“อบายมุข” โดยรูปศัพท์ แปลว่า “ปากทางแห่งความฉิบหาย” หมายความว่า บุคคลที่เข้าไป
เกี่ยวข้องกับอบายมุข คือผู้ที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดความเดือดร้อน และความหายนะให้ แก่ตนเอง หรือผู้
อื่นในเบื้องต้น แต่ในที่สุดก็จะกลายเป็นความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่นตลอดถึงสังคมโดยรวม
ในพระพุทธศาสนาแบ่งอบายมุขออกเป็น 6 ประการใหญ่ คือ
1) การติดสุราเมรัย และยาเสพติดประเภทต่างๆ
2) การชอบเที่ยวกลางคืน
3) การติดการดูการละเล่น
4) การติดการพนัน
5) การคบคนชั่วเป็นมิตร
6) การเกียจคร้านในการทำงาน
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์
DOU 21