สัมมาทิฏฐิและเครือข่ายกัลยาณมิตรในสังคมไทย GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 239
หน้าที่ 239 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ และชี้ให้เห็นว่าแม้จะมีความรู้ทางโลก แต่หากขาดสัมมาทิฏฐิจะมีความเสียหายทางจิตใจอย่างไร โดยอธิบายว่าเครือข่ายกัลยาณมิตรในสังคมไทยคือการร่วมมือของบ้าน วัด และโรงเรียน โดยที่แต่ละสถาบันมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความรู้และคุณธรรมให้กับเยาวชน สังคมไทยมีการรักษาขนบธรรมเนียมมาอย่างยาวนาน โดยวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และคุณธรรมให้กับเยาวชน และสมาชิกในสังคมมีการช่วยเหลือกันได้อย่างใกล้ชิดเพื่อสร้างความสุขและสันติภาพในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ
-เครือข่ายกัลยาณมิตร
-บ้าน วัด โรงเรียน
-การศึกษาและคุณธรรม
-ความสำคัญของพุทธศาสนาในสังคมไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่ว่าจะมีดีกรีทางการศึกษาระดับใดก็ตาม ไม่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง บางท่านอาจจะไม่รู้ว่า สัมมาทิฏฐิ 10 ประการ มีอะไรบ้าง บางท่านอาจจะพอรู้ แต่ก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นที่เห็นว่า การที่คนเรา จะสามารถตั้งอยู่ในความดีได้อย่างคงเส้นคงวา สามารถประคับประคองตนเอง ให้มีสันติสุขได้ตลอดชีวิต ก็เพราะมีสัมมาทิฏฐิเข้าไปตั้งมั่นอยู่ในใจอย่างถาวรเท่านั้น บุคคลแม้จะมีความรู้ทางโลกสูงเพียงใด แต่ถ้า ขาดความรู้ทางธรรม ขาดสัมมาทิฏฐิ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น สำหรับทิศเบื้องบนโดยทั่วไป แม้ท่านจะทราบถึงสภาวะความคิดเห็นของ 5 ทิศแรก เป็นอย่างดี แต่ท่านก็ยังคงมองดูเหล่าอุบาสกอุบาสิกา ผู้เป็นพุทธบริษัทอย่างมีอุเบกขา เพราะท่านอาจจะต้องการ รักษาขนบธรรมเนียม ที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน ในวงการชาวพุทธที่ว่า ภิกษุจะให้ศีลก็ต่อเมื่อ ญาติโยมอาราธนาขอให้แสดงเท่านั้น ท่านอาจจะไม่ได้เฉลียวใจว่าญาติโยมในปัจจุบันนี้อาราธนาศีลไม่เป็น จะเนื่องด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม การที่ทิศเบื้องบนยังคิดที่จะปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นอริยวินัย ตามพุทธบัญญัติในเชิงตั้งรับอยู่กับที่ ก็เท่ากับท่านมีความบกพร่องนั่นเอง ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ทิศเบื้องบน จะต้องถือธงธรรมจักรก้าวออกมาปฏิบัติหน้าที่อันเป็นอริยวินัยในเชิงรุก ดังเช่น สมัยพุทธกาลที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงส่งเหล่าพระอรหันตสาวกออกไปประกาศ พระศาสนา ฉะนั้น 6.4 เครือข่ายกัลยาณมิตร คือคำตอบสุดท้าย เครือข่ายกัลยาณมิตร หมายถึงอะไร เครือข่ายกัลยาณมิตร หมายถึงเครือข่ายคนดี หรือเครือข่ายมิตรแท้ที่ได้กล่าวไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ในบทที่ 3 ในเรื่อง อุ-อา-ก-ส ซึ่งเป็นเครือข่ายคนดีเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการบรรลุเป้าหมายชีวิต ระดับต่างๆ ของคนเรา แต่เครือข่ายคนดีในบริบทนี้ เป็นเครือข่ายคนดีเพื่อแก้ไขความบกพร่องของทิศ 6 เพื่อความอยู่รอดของสังคมไทยและประเทศชาติ จึงมีความหมายกว้างขวางลึกซึ้งกว่าเครือข่าย กัลยาณมิตรที่กล่าวไว้ในบทที่ 3 คือ เป็นเครือข่ายกัลยาณมิตรที่ประสานความร่วมมือกันทำงานอย่าง ใกล้ชิดระหว่าง 3 สถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันสงฆ์ และสถาบันการศึกษา หรือพูดสั้นๆ ว่า บ้าน วัด โรงเรียน เครือข่ายกัลยาณมิตร 3 สถาบันนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ บรรพบุรุษไทยได้สร้างเครือข่ายนี้มาตลอด ประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะวัดในสมัยโบราณ นอกจากจะเป็นอารามที่พักพิงของพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยัง เป็นสถาบันการศึกษาที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่บุตรหลาน ตั้งแต่เยาว์วัย จนกระทั่งเติบใหญ่ได้ บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกด้วย และญาติโยมต่างก็ตั้งใจอุปถัมภ์พระ อุปถัมภ์วัดด้วยดีตลอดมา การที่ประเทศไทยนับตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรื่อยมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดในพระพุทธศาสนาอยู่มากมาย ทุกจังหวัด ทุกชุมชน ก็เพราะประชาชนช่วยกันสร้างวัดไว้เป็นศูนย์กลาง 224 DOU สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More