แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าภาคทฤษฎี GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 158
หน้าที่ 158 / 298

สรุปเนื้อหา

แหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย, หนังสือธรรมะจากผู้รู้, และการสนับสนุนจากครูอาจารย์ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านนี้ โรงเรียนควรมีครูประจำวิชาศีลธรรม ใคร่ครวญถึงความสำคัญของการปลูกฝังภาคปฏิบัติร่วมกับทฤษฎี เพื่อสนับสนุนสัมมาทิฏฐิของผู้เรียนตลอดไป การสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจด้วยธรรมโอสถเช่น สัมมาทิฏฐิจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดูแลสุขภาพร่างกาย

หัวข้อประเด็น

-แหล่งข้อมูลการศึกษา
-พระไตรปิฎก
-ครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรม
-การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ
-การศึกษาพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แหล่งข้อมูลในการค้นคว้าภาคทฤษฎีอยู่ที่ไหน สำหรับแหล่งข้อมูลการค้นคว้าภาคทฤษฎีในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนตามเมือง ใหญ่จะหาได้ง่าย เช่น จากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ซึ่งมีทั้งในหนังสือ และจากอินเตอร์เน็ต จากพระภิกษุ ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม จากหนังสือธรรมะ ซึ่งมีผู้รู้เขียนเผยแพร่กันอย่างแพร่หลาย จากผู้เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง บางคนที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ จากครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรม เพราะฉะนั้น ครูอาจารย์ประจำภาควิชาศีลธรรม จำเป็นจะต้องมีความรู้ธรรมะหมวดต่างๆ ที่ถือว่าเป็นแม่บทเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็ต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา อย่างดีพอ สมควรด้วย อนึ่ง ถ้าโรงเรียนใดขาดแคลนครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรม ซึ่งมีความรู้ และประสบการณ์ ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ ก็ควรขอความอนุเคราะห์จาก การคณะสงฆ์ ขณะ เดียวกัน ทางโรงเรียนเองก็จำเป็นต้องมีโครงการในการสร้าง หรือสรรหาครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรม ที่มีภูมิรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดี ไว้ประจำสถานศึกษาของตน เช่นเดียวกับการมีครูอาจารย์ประจำวิชา อื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ในการปลูกฝังภาคปฏิบัติที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องมีการนำธรรมะภาค ทฤษฎีเข้ามาสอนผู้เรียนเลย แต่ครั้นเมื่อถึงการปลูกฝังภาคทฤษฎี ครูอาจารย์ประจำวิชาศีลธรรมก็ยังทิ้ง การปลูกฝังภาคปฏิบัติไม่ได้ จำเป็นต้องนำมาใช้อยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำลักษณะนิสัยที่ดีงามของ ผู้เรียนให้มั่นคง ประการหนึ่ง และเพื่อเป็นการสนับสนุนผู้เรียน ให้เกิดความเข้าใจภาคทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหมวดธรรมต่างๆ อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้สัมมาทิฏฐิในจิตใจของผู้ เรียนมั่นคงตลอดไป 4.2 วิธีปลูกฝังคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ เป็นที่เข้าใจกันดีโดยทั่วไปว่า คนเรานับตั้งแต่ลืมตามาดูโลก ก็จำเป็นต้องได้รับวัคซีนหลายชนิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มิฉะนั้น ก็อาจจะเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้ง่าย บางโรคก็อาจถึงตาย หรือ มิฉะนั้น ถ้ารักษาหายแล้วก็กลายเป็นคนทุพพลภาพไป เช่น โปลิโอ เป็นต้น ในด้านจิตใจ ก็จำเป็นต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกับร่างกาย แต่สิ่งที่จะใช้สร้าง ภูมิคุ้มกันจิตใจนั้นมิใช่วัคซีน ทว่า เป็นธรรมโอสถ ธรรมโอสถระดับพื้นฐานสำคัญยิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “สัมมาทิฏฐิ” นั่นคือ ทุกคนจำเป็นต้องได้รับการปลูกฝัง “สัมมาทิฏฐิ” บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ DOU 143
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More