ข้อความต้นฉบับในหน้า
สรุป
สาระสำคัญเกี่ยวกับการบูชาบุคคลที่ควรบูชา ก็คือ ความเห็นที่ว่า “การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
มีผลดี” (การเซ่นสรวงมีผล) เป็นสภาพของใจคนที่กอปรด้วย “มุทิตาจิต” กล่าวคือ เมื่อเห็น ใครได้ดี มี
ความสุขมีความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ จะสูงกว่าตนหรือไม่ก็ตาม จะนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ จะต้องไป
แสดงความยินดีกับเขา หรือเมื่อเห็นว่าใครเป็นคนดี ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ก็จะสนับสนุนยกย่อง ประกาศ
คุณความดีของเขาให้โลกรู้ ถ้าไม่ทำเช่นนั้น จะรู้สึกผิด เสมือนหนึ่งว่าตนไม่เห็นคุณค่า แห่งความดีของผู้อื่น
สภาพใจประเภทนี้จะเป็นเกราะป้องกันอย่างดี ไม่ให้เกิดความอิจฉาริษยาผู้อื่นได้ ความคิดที่จะจับผิดใครๆ
ก็จะไม่เกิดขึ้น เป็นสภาพใจที่พัฒนาความรับผิดชอบต่อผู้อื่นขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง บุคคลที่มีสภาพใจกอปรด้วย
“มุทิตาจิต” ชื่อว่ามีความเห็นถูกเป็น “สัมมาทิฏฐิ”
ในทางกลับกัน บุคคลที่มีนิสัยอิจฉาตาร้อนไม่มีความสุข เมื่อเห็นใครดีกว่าตน คอยจ้องจับผิดผู้อื่น
คอยใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ด้วยเรื่องเท็จ ก็เพราะจิตใจของเขาตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส เป็นจิตที่ยังไม่พัฒนา เขา
จึงเห็นว่า “การบูชาบุคคลที่ควรบูชาไม่มี ผลดี” และไม่ยอมยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชา บุคคลที่ขาด
มุทิตาจิตเช่นนี้ ชื่อว่ามีความเห็นผิดเป็น “มิจฉาทิฏฐิ”
1.3.4 ความเห็นเกี่ยวกับวิบากของกรรมดี และกรรมชั่วของบุคคล
กรรม คืออะไร
คำว่า “กรรม” ในพระพุทธศาสนา แปลว่า “การกระทำโดยเจตนา” ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ
ทางกาย วาจา หรือใจ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องดี หรือชั่ว จัดเป็น “กรรม” ทั้งสิ้น
วิบากของกรรม คืออะไร
คำว่า “วิบาก” แปลว่า “ผล” หรือ “ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนั้น “วิบาก
ของกรรม” ก็คือ “ผลของกรรมทั้งดีและชั่วที่ตัวเราเองได้ทำลงไปแล้ว” นั่นเอง มีบางท่านเข้าใจผิดว่า “วิบาก”
หมายถึง ผลของกรรมชั่วเท่านั้น ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า “วิบากของกรรมดี” ก็คือ
ผลของกรรมดี “วิบากของกรรมชั่ว” ก็คือผลของกรรมชั่ว
กรรมดี หมายถึงอะไร
“กรรมดี” หมายถึง การกระทำโดยสุจริต ทางกาย วาจา ใจ ดังนั้นผู้ที่ทำกรรมดี จึงเป็นผู้ที่มี
พฤติกรรมไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความคิดทุจริตคิดก่อกรรมทำบาปด้วย ประการทั้งปวง
แต่ทว่ามีความคิดและพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดทั้ง กุศลและประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม
บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์
DOU 19