การบรรลุเป้าหมายชีวิตตามหลักธรรม GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 113
หน้าที่ 113 / 298

สรุปเนื้อหา

โดยไม่ยากเย็นเกินไปนัก ข้อความนี้เน้นการบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ 3 ที่ต้องอาศัยการสร้างบารมี และการปฏิบัติตามธรรมะ ซึ่งมี 4 ขั้นตอนในการบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น ได้แก่ ขยันทำมาหากิน รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ สมรู้จักเลือกคบคนดี และใช้ทรัพย์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการบรรลุเป้าหมายระดับกลางด้วยการมีศรัทธาและทำกรรมดีอย่างสม่ำเสมอ โดยวิธีการปฏิบัติเหล่านี้ช่วยสร้างความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชีวิตของผู้ครองเรือน.

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุเป้าหมายชีวิต
-การสร้างบารมี
-การปฏิบัติตามธรรมะ
-เศรษฐีตามหลักศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

โดยไม่ยากเย็นเกินไปนัก ขอแค่เพียงอย่าดูเบาประมาทว่ากรรมแม้เล็กน้อยจะไม่ให้ผล ส่วนเป้าหมายชีวิต ระดับที่ 3 นั้นย่อมเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับผู้ครองเรือน ทั้งนี้ เพราะงานสร้างบารมี แม้สำหรับบรรพชิตก็ เป็นงานหนัก และต้องทำกันอย่างต่อเนื่องนับภพนับชาติไม่ถ้วน แต่ก็ต้องพยายามสร้างบารมีกันไป จนสุด ความสามารถ ส่วนใครจะประสบผลก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ช้าเร็วประการใดก็ไม่ตำหนิกัน 3.1.2 ทำอย่างไรผู้ครองเรือนจึงจะบรรลุเป้าหมายชีวิต 2 ระดับต้น เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายชีวิตทั้ง 2 ระดับดังกล่าว สัมมาทิฏฐิชนจึงพยายามปฏิบัติตาม ธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ใน ทีฆชาณุสูตร ดังนี้ 3.1.3 วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับต้น 4 ประการ 1. ขยันทำมาหากิน (อุฏฐานสัมปทา) หรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่า “หาเป็น” 2. รู้จักเก็บรักษาทรัพย์สมบัติ ที่หามาได้อย่างเหมาะสม (อารักขสัมปทา) หรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่า “เก็บเป็น” 3. รู้จักเลือกคบแต่คนดี (กัลยาณมิตตตา) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า “ทั้งคบคนดีและสร้าง เครือข่ายคนดีเป็น 4. รู้จักใช้ทรัพย์ที่หามาได้อย่างเหมาะสม (สมชีวิตา) หรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่า “ใช้เป็น” วิธีปฏิบัติ 4 ประการนี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธ ตั้งแต่สมัยโบราณกาลว่า การปฏิบัติ ตามหลักหัวใจเศรษฐี ซึ่งมีคำย่อว่า อุ-อา-ก-ส (อุอากะสะ) คือถอดเอาคำและอักษรตัวหน้าของธรรม 4 ประการมาเรียงกัน และถือว่าเป็นคาถาย่อของหัวใจเศรษฐี 3.1.4 วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายชีวิตระดับกลาง 4 ประการ 1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา) หมายความว่าเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า นั่นคือ เชื่อมั่น ในพระธรรมคำสั่งสอนทั้งปวงในพระพุทธศาสนา โดยไม่ลังเลสงสัย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องสัตว์มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ และกรรม ย่อมจำแนกสรรพสัตว์ให้ดีงามหรือเลวทรามต่างกันไป บุคคลที่ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมตั้งใจเลือกทำแต่ กรรมดี พยายามเว้น กรรมชั่วทุกรูปแบบ - อัง, อัฏฐก. มจร. 23/54/340 98 DOU สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More