ข้อความต้นฉบับในหน้า
3) ไม่ประพฤตินอกใจ ภรรยาที่มีความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ละกรรมกิเลส 4 ได้ ย่อม
ไม่ประพฤตินอกใจสามี
4) รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ คุณสมบัติสำคัญของภรรยาที่จะปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้สมบูรณ์ ก็
เพราะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องอริยวินัยในการใช้ทรัพย์
5) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง ภรรยาที่มีคุณสมบัติข้อนี้ได้ ก็เพราะไม่เกี่ยวข้องกับ
อบายมุขทั้งปวง และมีความเข้าใจเป้าหมายของการได้มาเกิดเป็นมนุษย์เป็นอย่างดี
ภรรยาที่มีความรับผิดชอบ สามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 5 ประการได้สมบูรณ์ ก็เพราะได้รับการ
ปลูกฝังอบรมเกี่ยวกับความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมจากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวาของตนมาเป็นอย่างดี
ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน
สำหรับทิศเบื้องหลังนี้มีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษก็คือการเลือกคู่ครอง ในการเลือกคู่ครอง
ของคนเราไม่ว่าชายหรือหญิง จำเป็นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้เพราะการมีคู่ครองเป็น
เรื่องของการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวของฆราวาสถ้าการเลือกคู่ครองขาดการพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ย่อม
จะเกิดปัญหาหย่าร้างและปัญหาทุกข์ร้อนอย่างอื่นตามมาอีกมากมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาส่วนตัวแล้ว
ยังอาจจะเป็นปัญหาสังคมด้วย เช่น ปัญหาเยาวชนจากครอบครัวบ้านแตกสาแหรกขาด ด้วยเหตุนี้ปู่ย่าตา
ยายของเราจึงมีสำนวนเตือนใจลูกหลานว่า “ปลูกเรือนผิด คิดจนเรือนหลาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาเกี่ยวกับเรื่องคู่ครองไว้หลายแห่ง เช่นใน ภริยาสูตร มี
เนื้อหาโดยย่อดังนี้
เช้าวันหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทรงสดับ
เสียงอื้ออึงในนิเวศน์จึงตรัสถามถึงสาเหตุ ท่านเศรษฐีได้กราบทูลว่า ผู้ก่อเหตุแห่งความอื้ออึงนั้นคือ
นางสุชาดา ลูกสะใภ้ของท่านเศรษฐี ซึ่งไม่เคารพยำเกรงใครๆ ในนิเวศน์ทั้งสิ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกนางสุชาดาให้เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า เธอเป็นภรรยา
ประเภทใด ใน 7 ประเภทต่อไปนี้
1) ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต (วธกาภริยา) คือ ภรรยาซึ่งดูหมิ่นสามีของตน ยินดีในชาย
อื่น และพยายามฆ่าสามีของตน
2) ภรรยาเสมอด้วยโจร (โจรีภริยา) คือ ภรรยาที่คิดยักยอกทรัพย์ที่สามีหามาได้เสมอ
- แบ่งทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 สำหรับใช้เลี้ยงชีวิตและครอบครัว อีกสองส่วนสําหรับใช้ในการประกอบอาชีพ
ส่วนที่ 4 เก็บออมไว้สำหรับใช้คุ้มครองป้องกันตนยามมีอันตราย ซึ่งรวมทั้งการทำทานกุศลด้วย
2 อัง. สัตตก. มก. 37/60/197
บทที่ 4 ผู้ลิขิต ชี วิ ต ค น ดี ที่ โ ล ก ต้ องการ
DOU 159