หน้าที่ของครูและศิษย์ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 286
หน้าที่ 286 / 298

สรุปเนื้อหา

ในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างครูและศิษย์ การปฏิบัติต่อกันตามหน้าที่ห้าประการเป็นสิ่งสำคัญเพื่อองค์ความรู้และคุณธรรมที่ดีของสังคม เมื่อทั้งครูและศิษย์ทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน จะนำไปสู่ความเจริญเติบโตทั้งสองฝ่าย อีกทั้งยังช่วยลดบาปกรรมและป้องกันภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่ ศิษย์จะมีความสุขและปลอดภัยจากภัยในด้านต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-หน้าที่ของศิษย์
-หน้าที่ของครู
-ความสำคัญของความสัมพันธ์
-อริยวินัย
-การลดบาปกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5 ประการ คือ 3. เชื่อฟัง 4. ดูแลปรนนิบัติ 5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บำรุงโดยหน้าที่ 5 ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่ 1. แนะนำให้เป็นคนดี 2. ให้เรียนดี 3. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วยดี 4. ยกย่องให้ปรากฏในมิตรสหาย 5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย คหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บำรุงโดยหน้าที่ 5 ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์ ศิษย์ ด้วยหน้าที่ 5 ประการนี้ ทิศเบื้องขวานั้นเป็นอันชื่อว่าศิษย์ได้ปิดป้อง ทำให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการนี้ อธิบายความ : เมื่อศิษย์สามารถปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา 5 ประการ ได้อย่างสมบูรณ์ และครูก็ได้ปฏิบัติอริยวินัยตามหน้าที่ของทิศเบื้องขวา 5 ประการ ได้สมบูรณ์ นั่นย่อมหมายความว่า 1. ทั้งศิษย์และครูต่างบำเพ็ญความเป็นมิตรแท้ต่อกัน อย่างสมบูรณ์ ตามอริยวินัย ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย 2. สัมมาทิฏฐิ ของทั้งสองฝ่ายต่างเพิ่มพูนยิ่งขึ้น และกำจัดมิจฉาทิฏฐิให้ลดน้อย ถอยลงไปด้วย 3. ความสำนึกรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง สังคม ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ และต่อ ทิศเบื้องขวา ย่อมเพิ่มพูนมั่นคงยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ภัยใดๆ ย่อมไม่เกิดจากศิษย์ไปกล้ำกรายทิศเบื้องขวา ในทางกลับ กันภัยใดๆ ย่อมไม่เกิดจากทิศเบื้องขวากล้ำกรายไปถึงศิษย์ เพราะต่างฝ่ายต่างปราศจาก บาปกรรม 14 ประการนั่นเอง ทั้งสองฝ่ายจึงมีแต่ความสุขความเจริญเพียงอย่างเดียว ศิษย์เองก็ได้ชื่อว่าปิดป้องทิศเบื้องขวาเรียบร้อยแล้ว บ ท ที่ 7 สิ ง ค ล ก สู ต ร DOU 271
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More