สีลสัมปทา: ความถึงพร้อมด้วยศีลและการเสียสละ GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 52
หน้าที่ 52 / 298

สรุปเนื้อหา

สีลสัมปทาหมายถึงการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะศีล 5 เพื่อสร้างนิสัยที่ดีและสามารถก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม การรักษาศีลส่งผลดีต่อสังคมและช่วยพัฒนาสัมมาทิฏฐิบุคคล นอกจากนี้ความใจดีในการเสียสละและแบ่งปันก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญ การไม่ตระหนี่ในการช่วยเหลือผู้อื่นทำให้เกิดความเมตตาและความสงบในจิตใจ ในทางกลับกัน ความตระหนี่มีผลเสียทำให้เกิดความเศร้าหมองและกิเลสในใจ การสร้างนิสัยที่ดีเหล่านี้จะนำมาซึ่งความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการรักษาศีล นอกจากช่วยตนเอง ยังช่วยส่งเสริมความสุขในสังคมอีกด้วย.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-การเสียสละ
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-ความสุขที่ยั่งยืน
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2) สีลสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล หมายถึงการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไป อย่างน้อยก็เป็นการรักษาศีล 5 ให้เป็นนิสัย และถ้าหาโอกาสรักษาศีล 8 เป็นครั้งคราวหรือตลอดไปก็จะมี ประโยชน์มาก เพราะนอกจากผู้รักษาจะได้โอกาสสั่งสมบุญเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะเป็นโอกาสในการพัฒนา สัมมาทิฏฐิของตนให้มั่นคงยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าผู้คนในสังคมแต่ละคน สามารถรักษาศีลได้บริสุทธิ์จนเป็นนิสัยแล้ว นอกจาก จะเป็นการพัฒนาความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองโดยตรงแล้ว จะก่อ ให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่อยู่ร่วมสังคมโดยทางอ้อมอีกด้วย ซึ่งในที่สุดก็จะก่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคมตลอดไป อนึ่ง การรักษาศีล 5 นอกจากจะจัดเป็นมหาทาน เนื่องจากเป็นการให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ยังจะเป็นทางนำความสุข 3 ประการ มาสู่ผู้ปฏิบัติอีก คือ 1) ได้รับการสรรเสริญจากสังคม 2) เป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์สมบัติ 3) เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ 3) จาคสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ หมายถึงมีนิสัยชอบแบ่งปันสิ่งของ ที่ตนมีตามมากตามน้อย ให้แก่ญาติมิตร เพื่อนฝูง ชอบสงเคราะห์คนที่ด้อยโอกาส ผู้ประสบสาธารณภัย และองค์กรการกุศล ชอบบริจาคทานแก่สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเช่นนี้เป็นนิสัย ย่อมเป็นการพัฒนาความเมตตากรุณา และความผ่องใสขึ้นในจิตใจของบุคคลนั้น อันจะเป็นเหตุให้เขา สามารถตัดใจเสียสละทรัพย์สิ่งของได้อย่างแน่วแน่ เพราะเหตุนี้ความตระหนี่ จึงไม่สามารถครอบงำจิตใจ ของเขาได้ ความตระหนี่มีโทษภัยอย่างไร ก่อนอื่นพึงทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าความตระหนี่คือความคิดที่จะไม่แบ่งปันไม่สงเคราะห์ผู้อื่น เนื่องจากกลัวความอดอยากยากจน นอกจากตนเองจะไม่ทำทานแล้ว คนตระหนี่ยังห้ามผู้อื่นทำทานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกในครอบครัว และผู้ใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็พยายามเสริมน้ำหนักให้แก่ทรรศนะ ของตน ด้วยการกล่าววิพากษ์วิจารณ์ผู้รับการสงเคราะห์ ไม่เว้นแม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญให้แก่ สัมมาทิฏฐิชน ถ้าผู้ที่ตนห้ามปรามไม่เชื่อฟังหรือโต้แย้ง เขาก็จะบันดาลโทสะแล้วแสดงกรรมชั่วทางกาย ทาง วาจาออกมามากขึ้น พฤติกรรมเลวร้ายเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มความเศร้าหมองขึ้นในจิตใจเรื่อยๆ แล้ว ยัง จะกระตุ้นกิเลสในกมลสันดาน ของเขาให้กำเริบออกฤทธิ์ แล้วแสดงพฤติกรรมเลวร้ายรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น เห็น แก่ตัวมากขึ้น มีความโลภมากขึ้น ฯลฯ 1 ปุญญาภิสันทสูตร อัง, อัฏฐก. มก. 37/129/492 2 สุขสูตร ขุ. อิติ. มก. 45/254/467 บ ท ที่ 1 แ น ว คิ ด ใ น ก า ร ป ฏิรูป มนุษย์ DOU 37
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More