ความถึงพร้อมด้วยศีลและการสละเพื่อชีวิตที่ดี GB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก หน้า 114
หน้าที่ 114 / 298

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสำคัญของการถึงพร้อมด้วยศีล การสละ และปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข โดยการปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มบุญกุศล สร้างความสงบสุข และบรรลุเป้าหมายชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังเสนอว่าการปฏิบัติควรเป็นแบบบูรณาการที่ทำควบคู่กับการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-ศีลสัมปทา
-จาคสัมปทา
-ปัญญาสัมปทา
-การปฏิบัติธรรม
-ความยั่งยืน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. ถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา) หมายถึงมีการรักษาศีล 5 ด้วยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ พร้อม กันนั้นก็ขวนขวายหาโอกาสรักษาศีล 8 ด้วย ความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นผลเนื่องมาจากความถึงพร้อม ด้วยศรัทธานั่นเอง เนื่องจากการรักษาศีลเป็นการสั่งสมบุญอย่างหนึ่ง จึงเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์และ ความสงบสุขต่างๆ ก็เกิดตามมา 3. ถึงพร้อมด้วยการสละ (จาคสัมปทา) หมายถึงมีความยินดีในการบริจาคทานแก่บุคคลต่างๆ ในโอกาสต่างๆ บางครั้ง ตัดใจเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อพระศาสนา ที่สำคัญคือเพื่อตัดความตระหนี่ออก จากใจให้ได้ เพราะถึงพร้อมด้วยศรัทธา ความถึงพร้อมด้วยการสละจึงเกิดขึ้นได้ ยิ่งสละทรัพย์เป็นทาน มากเท่าใด บุญก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น 4. ถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา) หมายถึงมีความรู้ความเข้าใจพระธรรมคำสอนมาก พอที่จะก่อให้เกิดความถึงพร้อมด้วยศรัทธา อันนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย ถึงพร้อมด้วยศีล ถึง พร้อมด้วยการสละ มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ จนมองเห็นโทษภัยร้ายแรงของมิจฉาทิฏฐิ ขณะเดียวกันก็มีปัญญาทางธรรมมากพอ ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำมาหากิน อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตลอดจนนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาการประกอบอาชีพและ ปัญหาชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม จนประสบผลสำเร็จอย่างราบรื่นเรียบร้อย และไม่เกิดปัญหาเช่นนั้น อีก ทำให้สามารถครองชีวิตอย่างสงบสุข บรรลุเป้าหมายชีวิตทั้งระดับต้น และระดับกลาง สมดังปณิธาน ที่ได้ตั้งไว้ อนึ่ง การอธิบายในลำดับต่อๆ ไป ถ้าจะต้องกล่าวถึงวิธีปฏิบัติ 4 ประการนี้อีก เพื่อความ สะดวกกระชับในการใช้ถ้อยคำ ก็จะขอใช้คำศัพท์ทางธรรม เช่น แทนที่จะกล่าวว่าถึงพร้อมด้วยศรัทธา ก็ จะใช้ว่า “สัทธาสัมปทา” เป็นต้น หวังว่าคงจะไม่ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าเป็นเรื่องเข้าใจยากเกินไป 3.1.5 วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองต้องเป็นแบบบูรณาการ วิธีปฏิบัติเป็นแบบบูรณาการมีความหมายอย่างไร หมายความว่า ในขณะที่ทำมาหากินเพื่อให้ตั้งหลักฐานได้ คนเราก็จำเป็นต้องศึกษาและ ปฏิบัติธรรม ตลอดจนสั่งสมบุญควบคู่กันไปด้วย นั่นคือขณะที่พยายามปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิต ระดับที่ 1 คนเราก็จำเป็นต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตระดับที่ 2 ควบคู่กันไปด้วย เป้าหมายชีวิต ระดับที่ 1 นั้นเราจะเห็นผลในชาตินี้ ส่วนเป้าหมายชีวิตระดับที่ 2 จะออกผลต่อเมื่อเราละโลกนี้ไปแล้ว บทที่ 3 ความยั่งยืน แห่ง คุณสมบัติ ข อ ง ค น ดี DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More