ข้อความต้นฉบับในหน้า
บุคคลที่มีความเห็นผิดดังกล่าวนี้ แม้ไม่ครบ 10 ประการ ย่อมชื่อว่าเป็น “มิจฉาทิฏฐิบุคคล
หรือ “มิจฉาทิฏฐิชน” เพราะเขาพร้อมที่จะทำกรรมชั่วหรือทำบาปอยู่เสมอ โดยไม่มีความคิดที่จะสั่งสมบุญ
กุศลเลย
6.1.4 เหตุผลของการปฏิรูปมนุษย์
ทำไมจึงต้องมีการปฏิรูปมนุษย์
สาเหตุที่ต้องมีการปฏิรูปมนุษย์ หรือสาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนมิจฉาทิฏฐิในใจผู้คนให้เป็น
สัมมาทิฏฐินั้น มีเหตุผลสำคัญ อย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. ผู้คนโดยทั่วไปในสังคมปัจจุบันมีภูมิคุ้มกันจิตใจบกพร่อง หรือขาดสัมมาทิฏฐิ ทั้งนี้
เพราะผู้คนโดยทั่วไปในสังคมปัจจุบัน
ไม่ได้รับการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ยังเป็นทารกจากครอบครัว
เนื่องจากผู้เป็นพ่อแม่เอง ก็ยังไม่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร พ่อแม่บางคนแม้จะมีการศึกษา
ทางโลกสูง แต่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สัมมาทิฏฐิ คืออะไร
ครั้นเมื่อเด็กเจริญเติบโต ได้รับการศึกษาอบรมจากโรงเรียนตลอดจนจากมหาวิทยาลัย ก็จะ
ได้รับความรู้เฉพาะทางโลกเป็นส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับการปลูกฝังอบรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจ หรือให้มี
สัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ เนื่องจากคณาจารย์เองก็ขาดความพร้อมที่จะให้การปลูกฝังอบรมสัมมาทิฏฐิแก่
เหล่าศิษย์ สถาบันการศึกษาเองก็ไม่มีนโยบายที่จะปลูกฝังอบรมนักเรียนนักศึกษา ให้มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปตั้ง
มั่นอยู่ในใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่มีความรู้ทางโลกสูงแล้ว ย่อมเป็นคนดีโดยปริยาย
โดยมิได้เฉลียวใจเลยว่า บุคคลที่มีความรู้ทางโลกสูง และมีจรรยาบรรณด้านวิชาชีพสูง เช่น แพทย์ แต่
ขาดความรู้ทางธรรมนั้น ย่อมสามารถทำกรรมชั่ว เช่น เป็นฆาตกรอย่างโหดเหี้ยม เสมือนหนึ่งไร้หิริ
โอตตัปปะนั้น เกิดขึ้นได้เสมอ
2. สัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปลูกฝังอบรมอย่างจริงจัง สัมมาทิฏฐิจะเกิดขึ้น
เองไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการปลูกฝังอบรมกันอย่างจริงจัง แม้เมื่อปลูกฝังอบรมให้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ก็ยัง
สามารถแปรเปลี่ยนไปตามกระแสสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายได้ ผิดกับมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เอง
ทั้งพร้อมที่จะเกิดขึ้น และแพร่กระจายพันธุ์ออกไปตลอดเวลา ทำนองเดียวกับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือวัชพืช
ซึ่งแม้ไม่มีการปลูกก็สามารถเกิดขึ้นได้งอกงามทุกแห่งหน ไม่ว่าในดินร่วนซุย ดินเปรี้ยว ดินลูกรัง หรือตาม
ซอกหิน ยิ่งถ้าได้ดินดี ก็จะสามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีก
เมื่อมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นในจิตใจผู้คนแล้ว ก็จะทั้งบีบคั้น และบีบบังคับจิตใจคนเราให้ก่อกรรมชั่ว
ต่างๆ นานา เช่นการเบียดเบียนกันทางกายและวาจา การเอาเปรียบกัน ข่มเหงกัน ทำร้ายกัน ไม่แตก
ต่างจากสัตว์ดิรัจฉาน ทว่าจะรุนแรงร้ายกาจ ยิ่งกว่าดิรัจฉานหลายร้อยหลายพันเท่า เพราะคนเราฉลาด
บ ท ที่ 6 บ ท ส รุ ป DOU 213