ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
จ น ข้ า ม า พ ร ว ย ข้ า ม ช า ติ (๒)
១៩៦
จิตใจเป็นศูนย์รวมของความรู้สึกนึกคิดทั้งมวล เป็นบ่อ
เกิดแห่งค่าพูด และการกระทํา ปกติใจของคนเรานั้น ใสสะอาด
บริสุทธิ์เป็นประภัสสร แต่เมื่อมีกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะเข้า
มาครอบงำ ใจดวงนั้นก็จะเศร้าหมองไม่ผ่องใส เปรียบเสมือน
กับนํ้า งปกติใสสะอาด แต่ขุ่นมัวไปเพราะมีสิ่งเจือปน ถ้าอยาก
ให้น้ำกลับมาใสดังเดิม ต้องทำสิ่งที่เจือปนอยู่ ให้ตกตะกอนไป
ใจของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้บริสุทธิ์ผ่องใส ต้องเจริญ
ภาวนา ทำใจให้หยุดให้นิ่ง เพื่อขจัดกิเลสอาสวะที่ปนเป็นให้หมดไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทานสูตร ว่า
“บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ความตระหนี่
๑ ความประมาท ๑ บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญจึงให้
ทานแท้ คนผู้ตระหนี่กลัวยากจน ย่อมไม่ให้อะไรๆแก่ผู้ใดเลย
ความกลัวจนนั่นแลจะเป็นภัยแก่คนผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อม
กลัว ความอยากข้าวอยากน้า ความกลัวนั่นแหละ จะกลับ
มาถูกต้องคนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น
บัณฑิต พึงครอบงำมลทิน กำจัดตระหนี่เสีย แล้วจึงให้ทาน
เถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
การสังเกตว่าผู้ใดตระหนี่ไม่ได้วัดกันตรงที่ความรวย หรือ
ยากจน เป็นกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นกรรมาชีพ แต่ดูที่จิตใจที่