ธรรมะเพื่อประช - พญาช้าง โพธิสัตว์ ธรรมะเพื่อประชาชน มงคลชีวิต เล่ม 2 หน้า 504
หน้าที่ 504 / 584

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สื่อถึงความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีและไม่ดี ตามหลักธรรมะ โดยอธิบายว่าผู้ที่ทำบาปอกุศลและละเลยคุณความดีของผู้อื่น จะต้องรับผลกรรมที่หนักหน่วง โดยเฉพาะในเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ดี ซึ่งมีการนำเสนอภาพของพระโพธิสัตว์ที่เกิดเป็นพญาช้างเผือก และเล่าเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาธรรมะในการดำรงชีวิตและผลที่ตามมาจากการกระทำของบุคคล. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-ผลกรรม
-ภัยพิบัติ
-การทำดี
-การทำบาป
-พระโพธิสัตว์
-ธรรมะในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะเพื่อประช พญาช้าง โพธิสัตว์ ๕๐๓ สุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป ส่วนผู้ทำบาปอกุศลไว้ ย่อมมีอบายภูมิ มารองรับ ใครทำบาปอกุศลไว้มาก ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเป็นคนอกตัญญู มีจิตใจมืดบอดไม่เห็นคุณความ ดีของผู้อื่น ใครทำดีด้วยก็ไม่รับรู้ ทั้งยังประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณ เป็นคนเนรคุณ แผ่นดินที่หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็ไม่อาจ จะรองรับกรรมหนักเช่นนี้ได้ ธรณีจึงสูบไปสู่อเวจีมหานรกทันที ปัจจุบัน เรามักจะได้ยินภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว และเกิดแผ่นดินแยกแตกออกจากกัน ทําให้ผู้คนตกลงไปข้างล่าง ถูกแผ่นดินทับถมให้ตายทั้งเป็น บางทีตายพร้อมๆ กันเป็นร้อย เป็นพัน สมัยก่อนก็มีคนที่ถูกแผ่นดินสูบคล้ายๆ กันอย่างนี้ แต่ว่า สูบลงไปในส่วนที่ลึกมาก ถึงอเวจีมหานรก เหตุการณ์นี้จะเกิด กับบุคคลผู้ทําบาปอกุศลไว้มากๆ *ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นช้าง อยู่ในหิมวันต ประเทศ เป็นพญาช้างเผือก นัยน์ตาทั้งคู่สวยงามราวกับแก้วมณี มีกายสง่างามมาก พระโพธิสัตว์ปกครองช้าง ๔๐,๐๐๐ เชือก ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายใน *มก. สีลวนาคชาดก เล่ม ๕๖ หน้า ๑๔๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น