ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
กัลยาณวาทะ
๔๖๑
ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตจะไม่กล่าววาจานั้น และถึงแม้จะเป็น
ประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม
รู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น หากเป็นวาจาไม่จริง แต่เป็นที่รัก
ของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง
ที่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ
ของผู้อื่น ถึงกระนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสรรพสัตว์ทั้งหลาย”
ต่อมาเมื่ออภัยราชกุมารทูลถามปัญหาที่เรียนมา ไม่ว่า
จะลึกซึ้งเพียงไร พระพุทธองค์ก็ทรงตอบได้ ทำให้พระกุมาร
สงสัยว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงรู้ไปหมดทุกอย่าง จึงได้ทูล
ถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหล่าชนผู้ถือตัวว่าเป็นบัณฑิต
เข้ามาถามปัญหาที่ยุ่งยาก และลึกซึ้งกับพระองค์กันจำนวนมาก
การพยากรณ์ปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรึกด้วยพระหฤทัยไว้ก่อนว่า บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามา
เฝ้าเรา แล้วทูลถามอย่างนี้ เราจะต้องพยากรณ์อย่างนี้ หรือว่า
คำพยากรณ์นั้น มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยทันที
พระเจ้าข้า”
พระบรมศาสดาตรัสว่า “ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตขอ
ถามกลับพระองค์บ้าง พระองค์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน