ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bะเพื่อประช
วาจาอันเป็นที่รัก
๔๕๔
“เจ้านกน้อย มีเสียงไพเราะอ่อนหวาน นุ่มนวล เจ้าจงร้องต่อไป
เราอยากฟังเสียงของเจ้าอีก”
พระโพธิสัตว์เห็นเหตุการณ์ทั้งสองนั้นแล้ว จึงดำริว่า
เราจะนําเหตุการณ์นั้นมาเปรียบเทียบให้พระมารดาฟัง จึง
กราบทูลว่า “มหาชนได้ยินเสียงของนกต้อยตีวิด ต่างพากัน
ปิดหูแล้วไล่ไปเสีย แม้นกนี้มีสีสันสวยงาม แต่มีเสียงหยาบกระด้าง
เปรียบเสมือนคนมีวาจาหยาบคาย ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้อื่น
แต่นกดุเหว่าแม้มีสีดำไม่น่าดู ก็เป็นที่รักเพราะมีเสียง
ไพเราะอ่อนหวาน เปรียบเสมือนคนมีวาจาสุภาษิต มีวาจา
สละสลวย คิดก่อนพูด ไม่ฟุ้งซ่าน มีถ้อยคำเป็นอรรถเป็นธรรม
ย่อมเป็นที่รักของมหาชน” พระมารดาสดับแล้วก็รู้สึกพระองค์
และได้เป็นผู้มีวาจาไพเราะนุ่มนวล ด้วยพระโอวาทเพียงครั้งเดียว
เท่านั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ปรารถนาจะให้เป็นที่รักของผู้อื่น ควรพูด
ด้วยวาจาไพเราะ อ่อนหวาน สละสลวย นุ่มนวลน่าฟัง ก่อนพูด
ก็ควรคิดใคร่ครวญให้ดี พูดในสิ่งที่มีประโยชน์ มีสาระ โดยเฉพาะ
คําพูดที่ชักชวนให้ทําความดีให้ประพฤติปฏิบัติธรรม ควรพูดบ่อยๆ
เพราะเป็นถ้อยคำที่นำพาไปสู่สวรรค์นิพพาน ดังนั้นให้ทุก
ถ้อยคำของเราเป็นไปเพื่อบุญกุศลและเพื่อความหลุดพ้น