ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
ปัญญา พาพ้นภัย (๒)
๓๓๑
สําคัญบาปกรรมนั้นว่าเป็นที่ลับ”
คนพาลที่ถูกกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ และความ
หลงเข้าครอบงำาจิตใจ มักทำบาปอกุศล เพราะเข้าใจว่าเป็นที่ลับ
คือ ลับหลับตาคน แล้วคิดเพื่อให้เกิดความสบายใจ เป็นการ
ปลอบใจตนเองว่า บาปอกุศลที่ตนได้ทำไปนั้น เป็นความลับ
สุดยอด ไม่มีใครรู้ใครเห็น เกิดความชะล่าใจ บางคนทำบาปนั้น
บ่อยๆ จนเป็นอาจิณ เมื่อทําบาปเป็นอาจิณกรรม กรรมนั้นก็
หนาแน่นยากที่จะแก้ไขได้ กฎแห่งการกระทำไม่ว่าจะทำในที่ลับ
หรือที่แจ้ง ย่อมส่งผลเป็นวิบากกรรมซึ่งทุกข์ทรมานเหมือนกัน
เพียงแต่จะส่งผลเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง
*เมื่อตอนที่แล้วพระบรมโพธิสัตว์ได้อาศัยปัญญา นําพา
ชีวิตให้พ้นจากมรณภัย ถึงตอนที่พระราชบิดาของพระองค์
พร้อมกับพระราชเทวี ปุโรหิตและทาสชื่อปรันตปะ ได้ปลอมตัว
ระหกระเหินเร่ร่อนหนีเข้าไปในป่า เพราะคิดว่าราชสมบัติถูก
พระเจ้าสมันตราชยึดครองไปหมดแล้ว พระราชาได้สร้างบรรณ
ศาลาใกล้ฝั่งแม่นํ้าแห่งหนึ่ง ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ด้วยผลไม้
ในทุกๆ วัน พระราชากับปุโรหิตจะออกไปหาผลไม้ เหลือไว้แต่
ทาสปรันตปะให้คอยปรนนิบัติพระเทวี
*มก. ปรันตชาดก เล่ม ๕๙ หน้า ๔๔๕