การทำความดีและผลแห่งการกระทำ ธรรมะเพื่อประชาชน ฉบับสารธรรม 1  หน้า 273
หน้าที่ 273 / 571

สรุปเนื้อหา

คนจะดีอยู่ที่การกระทำ สิริมงคลเกิดจากการประพฤติปฏิบัติอยู่ในทํานองคลองธรรม ตัวอย่างเช่น ความยากจนอาจไม่เป็นอุปสรรคในการทำความดีของพระบรมโพธิสัตว์ มาตังคะ แม้จะไม่เป็นที่เจริญตา แต่เขายังคงตั้งใจทำความดีอย่างไม่ท้อถอย สิ่งนี้สอนให้เราเห็นว่า การกระทำดีนำมาซึ่งความดีและแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น สังคมเองก็จะต้องการการกระทำดีเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง.

หัวข้อประเด็น

-หลักการของการทำความดี
-ผลของการกระทำดี
-บทเรียนจากชีวิตของมาตังคะ
-การสร้างแรงบันดาลใจในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนจะดีอยู่ที่การกระทำ ๒๗๒ แต่ในความเป็นจริง สิริมงคลเกิดจากการประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ทํานองคลองธรรม ใครทําความดี ผลแห่งความดีย่อมเกิดกับผู้นั้น ดังนั้นท่านจึงตั้งหน้าตั้งตาทำความดีอย่างไม่ย่อท้อ จนกลายมา เป็นต้นแบบในการทำความดีของชาวโลก ครั้งหนึ่ง พระบรมโพธิสัตว์ถือกำาเนิดในวรรณะจัณฑาล มีชื่อว่า มาตังคะ มีฐานะยากจน รูปร่างหน้าตาผิวพรรณไม่เป็น ที่เจริญตา วันหนึ่ง ในเมืองมีเทศกาลดื่มสุรา และงานมหรสพ บรรดานักดื่มทั้งหลายต่างมาประชุมรวมกันเพื่อสังสรรค์ ลูกสาว ของพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ ทิฏฐมังคลิกา ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม กว่าหญิงทั้งหลายในเมืองนั้น ได้นั่งบนยานพาหนะเทียมด้วย ม้าขาวมุ่งหน้าเข้าไปในเมือง ขณะที่บริวารของนางกำลังกันฝูงชนให้พ้นออกไปจาก ทางเดินอยู่นั้น นางเหลือบไปเห็นมาตั้งคะ กำลังยืนถือกะลาอยู่ ที่หน้าประตูพระนคร ตามปกติถ้าลูกสาวของพราหมณ์ได้พบ เห็นสิ่งที่ไม่เจริญตานางเกิดความรังเกียจขึ้นมาทันทีวันนี้ก็เช่นกัน เมื่อเหลือบเห็นมาตังคะ นางรีบบอกบริวารว่า “วันนี้ได้เห็นสิ่งที่ เป็นอัปมงคล ผู้ที่เห็นชายคนนี้จะหาความเจริญได้อย่างไรกัน” ว่าแล้วก็พาบริวารกลับบ้านด้วยความขุ่นเคืองใจยิ่งนัก *มก. เล่ม ๖๑ หน้า 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น